Page 110 - b30427_Fulltext
P. 110
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
ของรัฐบาลกลางที่ถูกเขียนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง ซึ่งมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ภารกิจโดยรวม เป็นเรื่องใหญ่ ๆ เท่านั้น ส่วนอำนาจอื่นใดซึ่งไม่ถูกพูดถึงย่อมตกเป็น
อำนาจของมลรัฐหรือประชาชน (rights reserved to states or people) 93
หากพิจารณาเรื่องของการกีฬาในเชิงหลักการรัฐธรรมนูญ กีฬาถือเป็น
กิจการภายในของมลรัฐ ขึ้นอยู่ที่แต่ละรัฐ ไม่ใช่ภารกิจของรัฐบาลกลางโดยแท้
ด้วยเหตุนี้ โอกาสที่จะพบเห็นกฎหมายกีฬาระดับชาติที่มีผลใช้บังคับกับทุกรัฐจึงมีน้อย
กฎหมายกีฬาจำนวนมากที่มีคือ กฎหมายระดับรัฐที่ใช้บังคับในรัฐของตนเท่านั้น
กอปรกับบริบทสังคมอเมริกันเอง ภาคประชาสังคม (Civil Society) ได้แสดงบทบาท
แข็งขันจริงจัง องค์การไม่แสวงหาผลกำไร (Non-profit Organization) ได้เข้าไปแทรกตัว
อยู่ในแทบทุกแวดวง ไม่เว้นแม้กระทั่งวงการกีฬา จึงเกิดกลายเป็นแนวความคิดที่ว่า
รัฐไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับกิจการกีฬา อย่างไรก็ดี ในห้วงหลังรัฐบาลกลางได้ขยายขอบเขต
รับผิดชอบเข้าไปในแวดวงกีฬามากขึ้นเรื่อย ๆ
3.2.2 อุตสาหกรรมกีฬา
ระบบกีฬาอเมริกันแบ่งอย่างกว้าง ๆ ออกได้ 2 ส่วน แยกเป็นกีฬาสมัครเล่น
กับกีฬาอาชีพ ซึ่งไม่ว่าส่วนใดล้วนแต่มีเรื่องความเป็นธุรกิจ (Sport Industry) เข้ามา
เกี่ยวข้องสูงทั้งสิ้น และกีฬาในสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นกิจกรรมฆ่าเวลาหรือมีนัยทางสังคม
เฉกเช่นในยุโรป สภาพปัญหาที่พบ เช่น เจ้าของอาจย้ายทีมไปยังเมืองใหญ่ และ
94
มีเศรษฐกิจดีกว่า เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนของตน โดยไม่ใส่ใจต่อความรู้สึกผูกพัน
ของแฟนกีฬา เช่น ทีมบาสเก็ตบอล Los Angeles Lakers ก่อนจะมาอยู่ที่เมือง
ลอสแอนเจลิส เคยใช้ชื่อทีม Minneapolis Lakers ซึ่งตั้งอยู่เมืองมินนิอาโปลิสมาก่อน
ภายใต้ระบบอเมริกัน กีฬาสมัครเล่น (Amateur Sports) ได้แก่ การแข่งขันในระดับ
โรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ซึ่งก็มีหลายองค์กรรับผิดชอบ โดยองค์กรกำกับการ
93 ตัวอย่างที่ถือว่าไม่ได้เป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้ไว้แก่รัฐบาลกลาง เช่น การตรากฎหมาย
ที่กระทบต่อความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว (การแต่งงาน, การหย่า, การรับบุตรบุญธรรม ฯลฯ)
การพาณิชย์ที่เกิดขึ้นและส่งผลแต่เฉพาะภายในมลรัฐ เป็นต้น ดู มานิตย์ จุมปา และพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย,
รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา: คำอธิบายเรียงมาตราพร้อมคำพิพากษาศาลฎีกา (กรุงเทพฯ: วิญญูชน,
2552): 185.
94 เจษฎา บุญประสม, “ระบบดราฟท์: เอกลักษณ์ “อเมริกันเกมส์” ที่ล้มเหลวกับ “ซอคเกอร์”,”
Main Stand, ม.ป.ป., สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564, https://www.mainstand.co.th/catalog/1-
Feature/54-ระบบดราฟท์+%3A+เอกลักษณ์+“อเมริกันเกมส์”+ที่ล้มเหลวกับ+“ซอคเกอร์”.
สถาบันพระปกเกล้า