Page 106 - b30427_Fulltext
P. 106

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           แพร่หลายเช่นกิจกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลและสนามกีฬาฟุตบอลมีความปลอดภัย
           ปราศจากการก่ออาชญากรรมและปราศจากพฤติกรรมอันสุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่การใช้

           ความรุนแรงและการก่อความไม่สงบในบริเวณพื้นที่และช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับ
           การจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล รวมไปถึงบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ
           การสร้างความปลอดภัยและคุ้มครองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจกรรมทางการกีฬา เช่น

           กฎหมายคุ้มครองเด็กที่เข้ามาร่วมกิจกรรมกีฬาและการแข่งขันกีฬา เป็นต้น

                     แม้ประเทศอังกฤษได้บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา
           และกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการสร้างธรรมาภิบาลกีฬาเอาไว้หลายฉบับด้วยกัน

           แต่ผู้วิจัยกลับพบว่ากฎหมายกีฬาอังกฤษยังไม่มีความครอบคลุมถึงทุกมิติด้านการกีฬา
           ซึ่งทำให้เห็นว่าบทบัญญัติที่ถูกตราขึ้นมานั้นยังไม่ได้บัญญัติครอบคลุมเอาไว้ในทุก
           ประเด็น นั้นหมายความว่ารัฐอาจไม่ได้มีอำนาจเข้ามาแทรกแซงเพื่อเสริมธรรมาภิบาล

           ทางการกีฬาในทุกมิติหรือเพื่อสนับสนุนให้เกิดบูรณาภาพทางการกีฬาให้ครอบคลุม
           ทุกประเด็น เหตุนี้รัฐเองจึงอาจไม่มีอำนาจหรือไม่มีหน้าที่ยื่นมือเข้าไปกำกับดูแล
           กิจกรรมทางการกีฬาหรือกิจกรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬา มากไปกว่า

           ปล่อยให้องค์กรกำกับกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดการแข่งขัน
           กีฬากำกับดูแลกันเองหรือสร้างกฎระเบียบขึ้นมาปกครองกันเอง ทั้งที่การกระทำนั้น
           อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อสุขภาพนักกีฬา ความสงบเรียบร้อยหรือ

           จริยธรรมจรรยาบรรณอันดีของนักกีฬาอย่างร้ายแรง หรือมีผลกระทบต่อบูรณาภาพ
           ต่อสังคมกีฬาเป็นวงกว้าง กล่าวอีกนัยหนึ่งกฎหมายกีฬาอังกฤษไม่ได้ครอบคลุมในเรื่อง
           ของการรักษาความสงบเรียบร้อยในการแข่งขันกีฬา มุ่งคุ้มครองการแข่งขันให้มี

           ความเป็นธรรมต่อผู้ที่เข้ามาร่วมกิจกรรม นั้นหมายความว่ากฎหมายกีฬาอังกฤษ
           ยังขาดกฎเกณฑ์เพื่อรักษาบูรณาภาพทางกีฬาในลักษณะที่มุ่งขจัดการกระทำอันถือ
           เป็นการเอารัดเอาเปรียบระหว่างบรรดาผู้เข้ามาร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬา

           ที่ไร้จริยธรรมจรรยาบรรณ โดยรัฐเองไม่ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำ
           ที่กระทบต่อบูรณาภาพทางกีฬาและไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
           ด้วยเหตุนี้รัฐจึงไม่ได้กำหนดการกระทำบางอย่างให้เป็นความผิดทางอาญา ในทาง
           ตรงกันข้ามรัฐเองกลับปล่อยให้องค์กรกำกับกีฬาสร้างกฎเกณฑ์หรือกฎกติกามากำกับ

           กันเอง ตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษได้ก่อตั้งองค์กรควบคุมการใช้สารต้องห้าม
           ทางการกีฬา (UK Anti-Doping หรือ UKAD) อันถือเป็นองค์กรกำกับกีฬาของรัฐที่ทำ

           หน้าที่กำกับการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาแล้วองค์กรดังกล่าวได้สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมา



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111