Page 104 - b30427_Fulltext
P. 104

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           กิจกรรมการแข่งขันกีฬา (Sports Grounds) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนามกีฬาที่สามารถ
           รองรับผู้ชมการแข่งขันกีฬาตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ซึ่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดสิทธิ

           หน้าที่และความรับผิดของเจ้าของสนามกีฬาหรือผู้จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาเอาไว้
           เพื่อให้บุคคลทั้งสองกลุ่มปฏิบัติตามมาตรฐานและมาตรการที่รัฐได้วางเอาไว้
           อันนำไปสู่การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในบริเวณสนามกีฬา


                      3.1.4.2  กฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจทางกีฬา

                           กฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจทางกีฬา ได้แก่ กฎหมายที่ให้
           อำนาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการดำเนิน

           ธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา บทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจบางฉบับ
           ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้เพื่อควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในธุรกิจ
           อุตสาหกรรมกีฬาหรือกำกับกิจการทางเศรษฐกิจในวงการกีฬา ตลอดจน ส่งเสริม

           เศรษฐกิจทางการกีฬา ไปพร้อมกับกำหนดข้อห้ามหรือข้อจำกัดบางอย่างในการดำเนิน
           กิจกรรมทางเศรษฐกิจในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา อาทิ ประมวล Code of Broadcast
           Advertising ที่วางหลักเกณฑ์กำกับกิจกรรมสื่อสารมวลชนในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา

                                                                                   86
           (sport-related media) และกฎหมาย Copyright, Design and Patents Act 1998
           ที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property
           rights) ซึ่งหากธุรกิจอุตสาหกรรมในแวดวงกีฬาฝ่าฝืนบทบัญญัติเช่นว่านี้ก็อาจต้องรับ

           โทษทางอาญา (criminal offences) หรือรับโทษทางการเงิน (financial penalty)

                      3.1.4.3  กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานในวงการกีฬา


                           กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานในวงการกีฬา ได้แก่ กฎหมาย
           ที่กำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาและลูกจ้าง
           ในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน เช่น สโมสร
           กีฬาฟุตบอลหรือบุคคลธรรมดาอย่างเช่นผู้ฝึกสอน ผู้ดูแลสุขภาพนักกีฬา เจ้าหน้าที่

           สนามกีฬา นักกีฬาอาชีพและนักกีฬาสมัครเล่น ก็อาจต้องเข้ามามีความสัมพันธ์กัน
           ในฐานะที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างต่อกัน กฎหมายแรงงานย่อมกำหนดความสัมพันธ์
           ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาให้เป็นไปโดยเหมาะสมและ



                 86   The Copyright, Design and Patents Act 1998, c. 48, Accessed March 7, https://
           www.legislation.gov.uk/ukpga/1988/48/contents.




                                          สถาบันพระปกเกล้า
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109