Page 112 - b30427_Fulltext
P. 112

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                                                                                   96
           กฎระเบียบหรือข้อบังคับต่าง ๆ ของตัวเองที่มีลักษณะ “กึ่งกฎหมาย” (Quasi-legal)
           ออกมาใช้บังคับกับทีมสมาชิก ผู้เล่น และการแข่งขันของลีกนั้นได้ เช่น กติกาการแข่งขัน

           คุณสมบัติของนักกีฬา วินัยนักกีฬา บทลงโทษนักกีฬา การอุทธรณ์ ใบอนุญาตสำหรับ
           บุคลากรทางการกีฬา (ผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอน ตัวแทนนักกีฬา) มิใช่โดยสมาคมกีฬา
           มีบทบาทนำเหมือนกับประเทศในทวีปยุโรป  97

                     รูปธรรมที่สะท้อนการปรับใช้แนวคิดการแข่งขันแบบสมดุล ได้แก่

           กระบวนการเลือกนักกีฬาจากระดับมหาวิทยาลัยเข้าสังกัดทีมในลีกอาชีพจากบัญชีรายชื่อ
           ที่ลีกกำหนด โดยเปิดโอกาสให้ทีมที่มีสถิติแย่ที่สุดในฤดูกาลก่อนหน้าได้สิทธิที่จะเลือก
           ผู้เล่นเข้าทีมเป็นทีมแรกในฤดูกาลถัดไปโดยอัตโนมัติ และเลือกเรียงตามลำดับไป

           (Draft System) ด้วยเหตุผลสำคัญเพื่อกระจายผู้เล่นที่มีความสามารถสูงออกไป
           หลาย ๆ ทีม ลดโอกาสของทีมใหญ่มิให้ครองความสำเร็จต่อเนื่องเป็นเวลานาน
           รวมทั้งเพิ่มโอกาสให้ทีมเล็กที่มีผลงานย่ำแย่ได้มีโอกาสพัฒนาทีม  นอกจากนี้
                                                                        98
           เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เล่นของแต่ละทีมให้มีความเหมาะสม และไม่ให้ใช้จ่าย
           เกินตัวจนประสบปัญหาขาดทุน จึงมีมาตรการควบคุมเพดานเงินเดือน (Salary Cap)
           อีกประการคือ การจัดสรรสิทธิประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ อันเกิดจากลีกกีฬาให้ทั่วถึง

           และเป็นธรรม ตัวอย่างเช่น การยกสิทธิผูกขาดในการผลิตชุดแข่งขันสำหรับทุกทีม
           ทั้งลีกให้แก่แบรนด์กีฬาเพียงแบรนด์เดียว เช่น ทุกทีมใน NFL ต้องใช้ชุดแข่งของ
           Nike อย่างน้อย ๆ ไปจนถึงปี 2028 ตามสัญญา 8 ปี (ค.ศ. 2020-2028)
                                                                                   99


                 96  กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกโดยองค์กรกีฬาเหล่านี้เรียกว่าเป็น “Soft Law” เนื่องจากไม่มีสภาพ
           บังคับแบบที่กฎหมายบ้านเมืองมี เพราะมิใช่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐ ในระดับประเทศ เช่น สมาคม
           กีฬาต่าง ๆ (Sports Associations) และระดับระหว่างประเทศ เช่น คณะกรรมการโอลิมปิกสากล
           (International Olympic Committee: IOC), สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (Fédération Inte
           rnationale de Football Association: FIFA), สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (Union of European
           Football Associations: UEFA) ดู อภิชัย มานิตยกุล, “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการฟุตบอล
           อาชีพ: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและต่างประเทศ,” วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ 7 ฉ.1,
           (มกราคม-มิถุนายน 2561): 105-106.
                 97  เรื่องเดียวกัน, 103-105.
                 98  Ian S. Blackshaw, International Sports Law: An Introductory Guide (The Hague:
           T.M.C. Asser Press, 2017): 7.
                 99  Ahiza Garcia, “NFL and Nike sign 8-year contract for uniforms,” Cable News
           Network, 21 March 2018, Accessed March 7, 2021, https://money.cnn.com/2018/03/27/news/
           companies/nike-nfl-gear-contract/index.html.


                                              101
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117