Page 116 - b30427_Fulltext
P. 116

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                     ในทัศนะของ Anneliese Nelson เห็นว่าโดยรวมแล้ว รัฐเข้ามาควบคุม
           วงการกีฬาใน 5 เรื่องด้วยกัน 1) จัดเก็บภาษีของนักกีฬาและทีมกีฬา 2) ออกกฎหมาย

           ว่าด้วยกีฬาโดยเฉพาะ เช่น กฎหมายมวย กฎหมายควบคุมการใช้สารต้องห้าม
           ทางการกีฬา 3) ออกกฎหมายที่เกี่ยวเนื่อง เช่น กฎหมายที่ระบุให้การพนันกีฬา
           ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย 4) สนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมกีฬาด้วยเหตุผลด้าน

           การสาธารณสุข 5) การบังคับใช้กฎหมายอาญาทั่วไปเข้ากับเรื่องกีฬา เช่น การปะทะ
           ชกต่อยกันระหว่างผู้เล่นในสนาม 107


                 3.2.3 กฎหมายกีฬาของรัฐบาลกลาง

                     ในมุมมองดั้งเดิมนั้น เมื่อเอ่ยถึงกฎหมายกีฬา (Sports Law) ย่อมมิได้
           หมายถึงกฎหมายกีฬาโดยเฉพาะ กฎหมายกีฬาแท้ ๆ ไม่ได้มีอยู่จริง หากแต่เกิดจาก

           การปรับเอากฎหมายที่มีอยู่แล้วมาใช้กับข้อพิพาทในวงการกีฬา ไม่ว่ากฎหมายมหาชน
           เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา หรือกฎหมายเอกชน เช่น
           กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ รวมทั้งกฎหมายพิเศษอื่น ทว่าภายหลังมีกฎหมาย

           ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาโดยตรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กอปรกับความสนใจศึกษาด้านกฎหมาย
                                                108
           กีฬาเป็นการเฉพาะทางเริ่มเป็นที่นิยม  ขอบเขตของกฎหมายกีฬาปัจจุบัน
           จึงกว้างขวางกินความครอบคลุมทั้งสองส่วนข้างต้น กรณีประเทศอเมริกาก็เช่นเดียวกัน


                       3.2.3.1  กฎหมายกีฬาเฉพาะ

                                                     109
                           จากการค้นคว้าในครั้งนี้  พบว่า สหรัฐอเมริกามีกฎหมาย
           กีฬาเฉพาะที่ออกโดยสภาคองเกรสจำนวนทั้งสิ้น 12 ฉบับ (ไม่นับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

           กฎหมายเดิมที่มี) โดยฉบับแรกก็คือ กฎหมายกีฬาสมัครเล่น (Amateur Sports Act)
           ออกมาในปี ค.ศ. 1978 และฉบับล่าสุดคือ กฎหมายเพิ่มอำนาจคณะกรรมการ


                 107  ดู Anneliese Nelson, “When, Where and Why Does the State Intervene in Sport : A
           contemporary Perspective,” Sports Law eJournal 1, no.1 (2005), http://classic.austlii.edu.au/au/
           journals/SportsLaweJl/ 2005/2.html.
                 108  Matthew Mitten, Timothy Davis, Rodney Smith, Kenneth Shropshire and Barbara
           Osborne, Sports Law: Governance and Regulation, 79: 26-28.
                 109  โดยอาศัยเครื่องมือค้นหาโดยละเอียด ด้วยคำว่า “sport” และ “sports” ระบุเฉพาะที่เป็น
           “กฎหมาย” แล้ว (Become Law) เท่านั้น ไม่รวมถึง “ร่าง” กฎหมาย (Bill) แต่อย่างใด บนเว็บไซต์ค้นหา
           กฎหมายของรัฐสภาสหรัฐ https://www.congress.gov/advanced-search/legislation สืบค้น ณ เดือน
           พฤศจิกายน 2563 นอกจากนี้ก็ยังพบกฎหมายกีฬาที่ไม่ได้ใช้คำว่า “sport” ในชื่ออีกบางฉบับ


                                              10
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121