Page 121 - b30427_Fulltext
P. 121
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
สหรัฐอเมริกาไม่ได้มีกฎหมายควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาเช่นหลาย
ประเทศแต่อย่างใด ในเรื่องนี้จึงต้องอาศัยอำนาจของคณะกรรมการโอลิมปิกเพื่อให้
เข้ามาจัดการดูแล ผ่านการตั้ง the United States Anti-Doping Agency (USADA)
ที่มิใช่หน่วยงานของรัฐบาลขึ้น รับผิดชอบในการทดสอบการโด๊ปยา และกำหนด
กระบวนการควบคุมของทั้งประเทศ ตามแนวทางขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้อง
ห้ามโลก (World Anti-Doping Agency: WADA) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่องค์กรกีฬา
นานาชาติยอมรับ ทว่าการใช้อำนาจของ USADA บางครั้งก็นำไปสู่ความขัดแย้งกับ
นักกีฬาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นกรณีของ Tim Montgomery นักกรีฑาทีมชาติที่ได้
รางวัลมามากมาย รวมทั้งเหรียญทองโอลิมปิก ซึ่งในปี 2004 USADA สั่งแบนเขาเป็น
เวลา 4 ปี และสั่งปรับเงิน เนื่องจากมีหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงเขาว่าพัวพันกับ
เหตุอื้อฉาวที่มีนักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคนลอบใช้สารกระตุ้นที่พัฒนาคิดค้นโดยบริษัท
ห้องปฏิบัติการเคมีในรัฐแคลิฟอร์เนีย (BALCO scandal) ทั้งที่เขาไม่เคยมีผลทดสอบ
เป็นบวกทั้งก่อนและหลังการแข่งขันก็ตาม เขาอุทธรณ์ไปยังศาลกีฬาโลก (The Court
of Arbitration for Sport: CAS) ซึ่งศาลกีฬาระบุว่าการตรวจสอบการใช้สารกระตุ้น
สามารถพิสูจน์ได้หลายทาง กรณีนี้แม้ไม่มีผลการทดสอบโดยตรง แต่พยานหลักฐานอื่น
ก็สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ โดยต้องปราศจากความขัดกันของพยานหลักฐาน
112
จึงจะถือว่าเพียงพอสำหรับการตัดสินว่านักกีฬารายนั้นมีความผิดฐานใช้สารต้องห้าม
อนึ่ง มาตรการนี้ต่อมาได้เดินไปสู่การบังคับใช้ในลีกกีฬาอาชีพหลักของสหรัฐฯ
เกือบทั้งหมด นักกีฬาที่ตรวจเจอว่าใช้สารกระตุ้นย่อมมีโทษอย่างหนัก 113
3.2.3.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
สำหรับกฎหมายของสหรัฐที่เกี่ยวข้องกับวงการกีฬาซึ่งไม่ใช่
กฎหมายกีฬาเฉพาะนั้นมีความทับซ้อนในหลายแขนง เรื่องที่หนังสือกฎหมายกีฬา
จำนวนมากเห็นคล้ายกัน ไม่พ้นกฎหมายว่าด้วยสัญญา (Contracts) กฎหมาย
114
112 Ian S. Blackshaw, International Sports Law: An Introductory Guide, 78.
113 เช่นที่ NFL ทำการสุ่มตรวจนักกีฬาอยู่เป็นประจำ หากตรวจพบครั้งแรกจะถูกห้ามลง
ทำการแข่งขันจำนวน 4 เกม พร้อมสั่งงดจ่ายเงิน หากพบซ้ำครั้งที่ 2 ห้ามลงเล่นอีก 6 เกม และถ้าพบ
ครั้งที่ 3 ต้องหยุดเล่นเป็นเวลา 12 เดือนหรือ 1 ปีเต็ม, Andras Gurovits (Ed.), The Sports Law
Review, 78: 273-274.
114 ประมวลจากสารบัญของหนังสือกฎหมายกีฬาหลายเล่ม โดยเฉพาะกับ 2 เล่มนี้ ดู Glenn M.
Wong, Essentials of Sports Law, v-xvii; Patrick K. Thornton, Sports Law (Massachusetts:
Jones and Bartlett Publishers, 2011): v-viii.
110
สถาบันพระปกเกล้า