Page 122 - b30427_Fulltext
P. 122
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
115
ป้องกันการผูกขาด (Antitrust Law) กฎหมายแรงงาน (Labor Law) กฎหมาย
ตัวแทน (Law of Agency) กฎหมายลักษณะละเมิด (Tort Law) กฎหมายทรัพย์สิน
ทางปัญญา (Intellectual Property Law) ตลอดจนยังกินความขยายไปถึงกฎหมาย
116
อื่นที่ออกมาเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคในด้านต่าง ๆ รวมทั้งประเด็นเรื่อง
117
หมิ่นประมาท (Defamation) กับสิทธิส่วนบุคคล (Privacy Rights) ของนักกีฬา
อีกด้วย
ตัวอย่างกฎหมายแรงงาน (National Labor Relations Act,
1935) เปิดช่องให้นักกีฬาอาชีพตั้งสมาคมนักกีฬาในแต่ละประเภทขึ้นมาเพื่อให้มี
อำนาจต่อรองหรือประท้วงได้ และห้ามเอาการเข้าร่วมสหภาพของนักกีฬามาใช้เป็น
เหตุในการเลือกปฏิบัติ องค์กรตัวแทนนักกีฬาที่มีบทบาทเด่น เช่น สมาคมผู้แทน
นักกีฬา (the Association for Representatives of Athletes: ARPA), สหภาพ
นักกีฬาอเมริกันฟุตบอล (National Basketball Players Association: NBPA)
ขณะที่คดีความจำนวนมากเกี่ยวพันกับสัญญา สืบเนื่องจาก
ความขัดแย้งในเรื่องค่าจ้าง ค่าตอบแทนพิเศษ การไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไปจนถึง
การบอกเลิกสัญญาทั้งที่ยังไม่หมดสัญญาโดยอ้างเหตุต่าง ๆ นานา เช่น ผลการแข่งขัน
ที่ล้มเหลว ความประพฤติไม่ดีไม่ว่าจะในหรือนอกสนาม สภาพร่างกายที่บาดเจ็บเรื้อรัง
ปฏิเสธการแลกตัวกับทีมอื่น ฯลฯ หลายสโมสรกีฬาก็เอาเปรียบผู้เล่นด้วยการกีดกัน
ไม่ให้มีโอกาสในการย้ายทีมใหม่ได้ง่าย ๆ
อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นที่ถกเถียงอย่างมาก นั่นคือ ประเด็น
การละเมิดทางการกีฬา อดีตประเด็นนี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายกีฬามาก่อน
กระทั่งเกิดเหตุการณ์ปะทะกันในการแข่งขันจนเป็นเหตุให้ผู้เล่นได้รับบาดเจ็บอย่าง
115 ประกอบด้วยกฎหมายหลายฉบับ ฉบับที่สำคัญคือ the Sherman Act of 1890, the Clayton
Act of 1914 และ the Federal Trade Commission Act of 1914 เรียกรวม ๆ ว่ากฎหมายป้องกัน
การผูกขาด แตกต่างจากทางยุโรปที่เรียกอีกแบบว่ากฎหมายแข่งขันทางการค้า (Competition Law)
116 เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ (Copyright Act of 1976)
117 กฎหมายในกลุ่มนี้ อาทิ กฎหมายการเลือกปฏิบัติด้านอายุในการจ้างงาน (Age
Discrimination in Employment Act of 1967), กฎหมายการคืนสิทธิแก่พลเมือง (the Civil Rights
Restoration Act of 1988), กฎหมายว่าด้วยการศึกษาของผู้พิการ (Individuals with Disabilities
Education Act of 1990)
111
สถาบันพระปกเกล้า