Page 120 - b30427_Fulltext
P. 120
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
ลำดับ รหัส/สมัยประชุม ชื่อเรียกกฎหมาย ปี สาระสำคัญ/วัตถุประสงค์
คณะกรรมการโอลิมปิกและ
พาราลิมปิกแห่งสหรัฐ (The
United States Olympic &
Paralympic Committee: USOPC)
รวมถึงหน่วยงานของรัฐตามชนิด
กีฬาแต่ละประเภท เช่น USA
Swimming, USA Gymnastics
หากสืบทราบถึงเจตนาปกปิดหรือ
ปล่อยปละละเลยให้มีเรื่องดังกล่าว
เกิดขึ้น และเพิ่มทุนสนับสนุนของ
รัฐบาลกลางให้กับศูนย์กีฬา
ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
เราสามารถแบ่งกลุ่มกฎหมายออกตามเนื้อหาได้อย่างน้อย ๆ
4 กลุ่ม คือ
(1) กฎหมายจัดตั้งองค์กรกีฬาและองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง
ได้แก่ การก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกของสหรัฐอเมริกา (กฎหมายลำดับที่ 1) และ
ได้ก่อตั้งมูลนิธิการออกกำลังกาย กีฬา และโภชนาการ (กฎหมายลำดับที่ 9) ขึ้นมา
(2) กฎหมายส่งเสริมกีฬาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งกำหนดให้มี
วันและเดือนสำคัญทางการกีฬา (กฎหมายลำดับที่ 2 และ 3) ตลอดจนสนับสนุน
เงินอุดหนุนด้านกีฬาให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กฎหมายลำดับที่ 5 และ 8)
(3) กฎหมายคุ้มครองนักกีฬาในหลากลักษณะ โดยเฉพาะต่อ
ประเด็นเรื่องความปลอดภัย (กฎหมายลำดับที่ 6) ประเด็นการล่วงละเมิดทางเพศ
(กฎหมายลำดับที่ 10 และ 12) และประเด็นอื่นว่าด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักกีฬา
อาทิ ตัวแทนนักกีฬา (กฎหมายลำดับที่ 7) ผู้ดูแลสุขภาพนักกีฬา (กฎหมายลำดับที่ 11)
(4) กฎหมายอื่น เช่น กฎหมายห้ามเล่นการพนันกีฬาทุกชนิด
ผ่านทุกช่องทาง (กฎหมายลำดับที่ 4)
ข้อสังเกตคือ กฎหมายส่วนใหญ่เพิ่งทยอยออกมาในห้วงกว่า
40 ปีมานี้เอง โดยเฉพาะนับแต่ปี 2000 เป็นต้นมาที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
และมีเป้าหมายออกไปในทางซึ่งมุ่งคุ้มครองตัวนักกีฬาเป็นหลัก ถึงกระนั้น
10
สถาบันพระปกเกล้า