Page 83 - 30423_Fulltext
P. 83

77



                       ซึ่งมีความเป็นเอกเทศ โดยมี 4 ลีกกีฬาหลัก ได้แก่ ลีกเบสบอล MLB (Major League Baseball), ลีก
                       บาสเก็ตบอล NBA (the National Basketball Association), ลีกอเมริกันฟุตบอล NFL (the

                       National Football League) และลีกฮอกกี้น ้าแข็ง NHL (the National Hockey League) มักถูก

                       เรียกรวม ๆ ว่า Big Four ขณะที่ลีกอื่นนอกเหนือจากนี้ อาทิ ลีกฟุตบอล MLS (Major League
                       Soccer), ลีกบาสเก็ตบอลหญิง WNBA (Women’s National Basketball Association), สมาคม

                       นักกอล์ฟอาชีพชาย PGA (Professional Golfers' Association of America), สมาคมเทนนิสอาชีพ

                       ATP (Association of Tennis Professionals)

                              องค์กรกีฬาเติบโตอย่างมากนับแต่ช่วงทศวรรษ 1970 เรื่อยมา ทั้งในแง่ของการขยายพื้นที่

                       อิทธิพล และสถานะทางการเงิน องค์กรกีฬาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่ขัดเกลาชีวิตผู้คนตั้งแต่เด็กจนโต

                       โดยเฉพาะกับลีกอาชีพที่ท ารายได้ขนานใหญ่แต่ละปี และเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจกีฬาของสหรัฐฯ ให้
                       เติบโตยิ่งขึ้น นั่นเองเป็นสาเหตุที่ท าให้เกิดประเด็นทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวพันด้วยเป็นอันมาก ดังจะ

                       ได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
                                           31
                              การบริหารจัดการลีกกีฬาอาชีพของสหรัฐอเมริกามีลักษณะอันน่าสนใจหลายประการ

                       โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้ระบบปิด (Close System) และยึดแนวคิดการแข่งขันแบบสมดุล

                       (Competitive Balance)

                              ระบบปิดในที่นี้หมายถึงทั้งการที่ลีกกีฬาต่าง ๆ เป็นแนวระนาบ (Horizontal) นั่นคือมีเพียง

                       ลีกเดียว ไม่มีการเลื่อนชั้นหรือตกชั้นแต่อย่างใด แตกต่างกับลีกกีฬาโดยทั่วไปของประเทศอื่น และ
                       อ านาจการบริหารจัดการในแต่ละลีกอยู่ที่เจ้าของทีมทุกทีม เป็นต้นว่าหากมีทีมใหม่ต้องการเข้าร่วมลีก

                       ก็ต้องผ่านการประเมินและได้รับมติยินยอมจากทีมร่วมลีกเดิมก่อนด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ลีกสามารถออก

                                                                                               32
                       กฎระเบียบหรือข้อบังคับต่าง ๆ ของตัวเองที่มีลักษณะ “กึ่งกฎหมาย” (Quasi-legal)  ออกมาใช้
                       บังคับกับทีมสมาชิก ผู้เล่น และการแข่งขันของลีกนั้นได้ เช่น กติกาการแข่งขัน คุณสมบัติของนักกีฬา










                       31  Glenn M. Wong, Essentials of Sports Law, 4th ed., (Santa Barbara: Praeger, 2010): 3.
                       32  กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกโดยองค์กรกีฬาเหล่านี้เรียกว่าเป็น “Soft Law” เนื่องจากไม่มีสภาพบังคับแบบที่กฎหมาย
                       บ้านเมืองมี เพราะมิใช่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐ ในระดับประเทศ เช่น สมาคมกีฬาต่าง ๆ (Sports Associations)

                       และระดับระหว่างประเทศ เช่น คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee: IOC), สหพันธ์
                       ฟุตบอลระหว่างประเทศ (Fédération Internationale de Football Association: FIFA), สหภาพสมาคมฟุตบอล
                       ยุโรป (Union of European Football Associations: UEFA) ดู อภิชัย มานิตยกุล, “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับ

                       การจัดการฟุตบอลอาชีพ: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและต่างประเทศ,” วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ 7 ฉ.1,
                       (มกราคม-มิถุนายน 2561): 105-106.
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88