Page 85 - 30423_Fulltext
P. 85
79
มองไปในทิศทางสอดคล้องกันว่าองค์กรกีฬาเหล่านี้มิใช่หน่วยงานของรัฐที่อยู่ในบังคับของ
38
รัฐธรรมนูญ กฎเกณฑ์ขององค์กรกีฬาจึงเป็นอิสระจากรัฐ กอปรกับอเมริกาไม่ได้มีกระทรวงการกีฬา
หรือหน่วยงานของรัฐที่คอยก ากับดูแลด้านการกีฬาโดยตรง รัฐจึงมีบทบาทเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย หรือ
จะเข้าไปแทรกแซงก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ขัดกัน ความน่าเชื่อถือ หรือการ
39
กระท าละเมิดต่อกฎหมายว่าด้วยการผูกขาด เพื่อควบคุมดูแลให้เกิดความเป็นธรรมเท่านั้น
40
เช่นเดียวกับศาลที่พยายามระมัดระวังการใช้อ านาจ เป็นต้นว่ารับพิจารณาเฉพาะคดีที่เห็นว่าองค์กร
กีฬา (ตัวแสดงภาครัฐ) ล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรกีฬา (ภาคเอกชน) ท าเกินกว่าอ านาจที่ตนมี
เท่านั้น
41
Glenn M. Wong ผู้เขียนหนังสือ Essentials of Sports Law พยายามสรุปให้เห็นความ
เชื่อมโยงระหว่างองค์กรกีฬากลุ่มต่าง ๆ กับประเด็นทางกฎหมายที่มีในแต่ละระดับซึ่งมีความแตกต่าง
กัน ดังภาพที่ 2 ในหน้าถัดไป
38 Matthew Mitten, Timothy Davis, Rodney Smith, Kenneth Shropshire, and Barbara Osborne, Sports
Law: Governance and Regulation, 2nd ed. (New York: Wolters Kluwer, 2016): 30-31.
39 ชนมภูมิ งามภูพันธ์, “มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองจากการแข่งขันกีฬา,”
วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ 11, ฉ.1 (มกราคม-มีนาคม 2561): 67.
40 ในคดี Harding v United States Figure Skating Association (1994) ศาลของรัฐบาลกลางได้ให้ข้อสังเกตไว้ในค า
พิพากษาว่า “ศาลต้องใช้ความระมัดระวังก่อนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทอันเกิดจากกฎระเบียบของสมาคมเอกชน การ
เข้าไปตรวจสอบสมควรใช้เฉพาะสถานการณ์พิเศษเท่านั้น” อ้างถึงใน Ian S. Blackshaw, International Sports Law:
An Introductory Guide, 78.
41 Matthew Mitten, Timothy Davis, Rodney Smith, Kenneth Shropshire and Barbara Osborne, Sports
Law: Governance and Regulation.