Page 37 - 30423_Fulltext
P. 37
31
อุตสาหกรรมกีฬา (Sports Industry) จึงเป็นกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อการเข้าร่วม
การแข่งขันกีฬาหรือจัดให้มีการแข่งขันกีฬา รวมไปถึงการผลิตสินค้าและบริการอื่น ๆ อันเนื่องมาจาก
การเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา ซึ่งมักเป็นการประกอบธุรกิจกีฬา (Sports
Business) ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและเงินทุนมาก ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเช่นว่านี้ต้องมีผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจ านวนมาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามาเกี่ยวข้องเหล่านี้มีบทบาท
และหน้าที่ท าให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมกีฬาขับเคลื่อนต่อไปได้ เช่น เจ้าของสโมสรกีฬา (Owners)
นักกีฬา (Players) ผู้ฝึกสอนกีฬา (Coaches) ตัวแทนกีฬา (Agents) กรรมการกีฬา (Referees) และ
เจ้าหน้าที่การแข่งขัน (Match Officials) เป็นต้น
เมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามาเกี่ยวข้องเหล่านี้เข้ามาปฏิสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์
กันภายใต้สังคมกีฬาแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมกีฬาอาจมีการแสดงพฤติกรรมหรือกระท าการ
อย่างหนึ่งอย่างใดในลักษณะไม่ลงรอยกัน ต่างฝ่ายต่างมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปหรือเกิด
สภาพการณ์ในสังคมกีฬาที่ไม่อาจหาข้อยุติที่สอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันได้ ในท านอง
เดียวกันผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ก็อาจแสดงความประพฤติขัดกับหลักการที่ยอมรับนับถือกันอยู่ทั่วไป
ของผู้คนในแวดวงกีฬาหรือแสดงความประพฤติแย้งกับทางปฏิบัติหน้าที่ประพฤติสืบทอดต่อกันมาใน
สังคมกีฬา ดังนี้จึงจ าเป็นที่จะต้องมีการก าหนดกฎระเบียบที่องค์กรกีฬา (Sports Organisation) ได้
ก าหนดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือในแวดวงกีฬา เพื่อใช้ในการก ากับ
การแข่งขันกีฬาให้ด าเนินไปเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือเพื่อใช้ในการปกครองกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา
4
ใช้บังคับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแข่งขันกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละชนิดกีฬาให้ปฏิบัติตาม
รวมทั้งอาจก าหนดแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมกีฬาด้วยกันหรือระหว่าง
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมกีฬากับองค์กรกีฬา ความจ าเป็นต่าง ๆ เหล่านี้เป็นที่มาของการจัดตั้งหรือ
บัญญัติกฎระเบียบซึ่งก าหนดความประพฤติของผู้คนในแวดวงกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม
กีฬา ถ้าฝ่าฝืนกฎระเบียบจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งกฎระเบียบที่องค์กรกีฬา
ของรัฐได้ตราขึ้นไว้ก็ดีหรือที่องค์กรก ากับกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬาได้บัญญัติเอาไว้ก็ตาม ย่อมเป็น
ข้อบังคับก าหนดความประพฤติของผู้คนในแวดวงกีฬาหรือผู้คนในสังคมกีฬา เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็น
5
บริบทของกฎหมายกีฬา (Sports Law)
4 Ken Foster, “Global Sports Law Revisited,” Entertainment and Sports Law Journal 17, no.4
(2019): 1-4.
5 Antoine Duval, “Lex Sportiva: A Playground for Transnational Law,” European Law Journal 19
no.6 (2013): 822–842.