Page 151 - 30423_Fulltext
P. 151

145



                              ส่วนของประเทศไทย มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการกีฬา 2 ประเด็นคือ (1) กฎหมายกีฬาใน

                       ลักษณะที่เป็นกฎเกณฑ์แบบเป็นทางการอย่างเป็นระเบียบแบบแผนและใช้บังคับความประพฤติของผู้
                       มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาหรือธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา เช่น พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542

                       พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 และพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬา

                       อาชีพ พ.ศ. 2556 หากฝ่าฝืนกฎหมายเช่นว่านี้ ผู้กระท าการอันฝ่าฝืนต่อกฎหมายอาจถูกลงโทษ (โทษ
                       ทางอาญาหรือโทษทางปกครอง) (2) กฎหมายให้อ านาจองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นหน่วยงานภาครัฐหรือ

                       เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองเพื่อให้อ านาจจัดท าการบริการ

                       สาธารณะด้านกิจการกีฬาและก ากับดูแลในการบริหารการกีฬาในประเทศไทย เช่น พระราชบัญญัติ
                       การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558


                              4.2.4 การระงับข้อพิพาททางกีฬา


                              จากการศึกษาการระงับข้อพิพาทของประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ
                       ประเทศไทย พบว่า ข้อพิพาททางการกีฬา มักจะมีลักษณะที่ต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาที่

                       รวดเร็วทันการแข่งขัน มีลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละชนิดกีฬา กฎระเบียบแต่ละ

                       ชนิดกีฬาที่มีความซับซ้อน ละเอียด และมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย จึงท าให้การระงับข้อพิพาททางการ
                       กีฬา มีแนวโน้มในการใช้การระงับข้อพิพาทนอกศาล จึงมีการพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาทนอก

                       ศาลเกิดขึ้น เช่น กระบวนการอนุญาโตตุลาการ การระงับข้อพิพาททางเลือก โดยประเทศอังกฤษมี

                       องค์กรระงับข้อพิพาททางกีฬา (Sports Dispute Settlement Bodies) 2 ประเภท คือ (1)
                       อนุญาโตตุลาการอิสระ (Independent Arbitration) อิสระโดยไม่ได้สังกัดภาคธุรกิจกีฬาหรืออยู่

                       ภายใต้ก ากับขององค์กรก ากับกีฬา องค์กรอนุญาโตตุลาการเช่นว่านี้มักจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้าน

                       กฎหมายกีฬาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีความเป็นกลางและเป็นอิสระ มาท าหน้าที่วินิจฉัยชี้
                       ขาดข้อพิพาททางการกีฬา โดยคู่ความจะต้องมีข้อสัญญาหรือข้อตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาททางการ

                       กีฬาเกิดขึ้นแล้วให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการอิสระ (2) คณะกรรมการระงับข้อพิพาททาง

                       กีฬา (Sports Dispute Resolution Panel  หรือ Sport Resolutions) ท าหน้าที่ให้บริการระงับข้อ
                       พิพาททางกีฬาแบบอิสระ (independent dispute resolution service for sport) ที่ด าเนินการ

                       ให้บริการแก่องค์กรก ากับกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาเพื่อจัดการยุติข้อ

                       พิพาท ซึ่งองค์กรก ากับกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสมัครใจหรือตกลงผูกพันจะใช้ขั้นตอนหรือ
                       กระบวนการระงับข้อพิพาท


                              ส่วนของประเทศญี่ปุ่น มีส านักงานอนุญาโตตุลาการทางการกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan
                       Sports Arbitration Agency) เป็นหน่วยงานระงับข้อพิพาททางการกีฬาของประเทศ โดยมีการ

                       ระงับข้อพิพาททางการกีฬา ระหว่างนักกีฬา กับองค์กรกีฬาต่างๆ ผ่านกระบวนการ
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156