Page 153 - 30423_Fulltext
P. 153
บทที่ 5
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
5.1 บทสรุป
งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกฎหมายกีฬาในประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
ด้วยการมองขอบเขตของหลักกฎหมายที่สร้างธรรมาภิบาลกีฬาที่มีความส าคัญอย่างยิ่งยวด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบกฎหมายอังกฤษ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาได้มีกฎหมายกีฬาบัญญัติเอาไว้
เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน แล้วกฎหมายกีฬาที่บัญญัติเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นว่านี้ถูก
น าเอามาวิเคราะห์เพื่อน าไปสู่การบูรณาการและเสริมสร้างกฎระเบียบที่ส่งเสริมการแข่งขันกีฬา การ
ด าเนินกิจกรรมกีฬาและการปฏิบัติทางการกีฬาให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยได้ข้อค้นพบใน 3
เรื่องที่ส าคัญคือ แนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยกฎหมายกีฬา กฎหมายกีฬาของต่างประเทศ กฎหมาย
กีฬาไทยกับบทวิเคราะห์เปรียบเทียบ
แนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยกฎหมายกีฬา ผู้วิจัยได้พบว่ามีทั้งหมด 4 ประการ คือ หลัก
พื้นฐานกฎหมายกีฬา การจัดองค์กรก ากับกีฬา ธรรมาภิบาลกีฬา และการระงับข้อพิพาททางการกีฬา
โดย ประการแรก หลักพื้นฐานกฎหมายกีฬา พบว่า กฎหมายกีฬามีที่มาจากการน าเอากฎหมายที่มี
ผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้นมาใช้ก าหนดความประพฤติและระงับข้อพิพาทระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน
แวดวงกีฬา และการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาใหม่มาใช้ควบคุมความประพฤติและระงับข้อพิพาท
ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ซึ่งกฎหมายกีฬาอาจมีสภาพบังคับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้อง
ปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามก็อาจได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ประการที่สอง การ
จัดองค์กรกำกับกีฬา พบว่า องค์กรก ากับกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรก ากับการกีฬาในฐานะที่
เป็นผู้จัดการแข่งขันกีฬาตามแต่ละประเภทกีฬา มีความส าคัญในการก ากับวินัยนักกีฬาและควบคุม
การแข่งขันกีฬาให้ได้เกณฑ์มาตรฐานตามกฎระเบียบที่องค์กรก ากับกีฬาได้วางไว้ โดยองค์กรก ากับ
กีฬามีอ านาจออกกฎระเบียบมาก ากับตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรก ากับกีฬามักอยู่ใน
รูปแบบโครงสร้างพีระมิดเป็นระบบล าดับชั้นของการปกครอง ประการที่สาม ธรรมาภิบาลกีฬา
พบว่า องค์กรก ากับกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬาและองค์กรก ากับกีฬาในฐานะผู้จัดการแข่งขันกีฬามีการ
ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดธรรมภิบาลในแวดวงกีฬาและวางมาตรฐานด าเนินกิจกรรมการกีฬาให้เป็นไป