Page 32 - 30422_Fulltext
P. 32

| 23

                  เป็นนักข่าวมาก่อนที่จะเข้าเรียนในหลักสูตรปริญญาเอก ท าให้กลุ่มผู้เรียนเหล่านี้ มีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่าง

                  ออกไปจากผู้สอน (Rogers, 2004, p. 7-8)

                         ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุค 1950 นักวิชาการผู้ค้นคว้าวิจัยด้านการสื่อสารทางการเมือง

                  ได้สรุปการวิเคราะห์ในภาพรวมว่า การสื่อสารมวลชนส่งผลในระดับต่ าต่อปรากฏการณ์ทางการเมือง ทั้งนี้

                  เนื่องมาจากปริมาณจ านวนคนที่เป็นสมาชิกในองค์กรต่าง ๆ มีจ านวนมาก เช่น พรรคการเมือง โบสถ์ สหภาพ
                  แรงงาน ฯลฯ (Bennett & Iyengar, 2008, p. 707-708) องค์กรเหล่านี้ได้ท าหน้าที่ในการเป็นผู้ประชาสัมพันธ์

                  ข่าวสารเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่ม


                         งานวิจัยที่ถูกได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมาก โดย Lazarsfeld, Berelson, & Gaudet (1960)
                  ซึ่งผลงานวิจัยถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือที่มีชื่อว่า How the Voter Makes Up His Mind in a Presidential

                  Campaign เป็นงานวิจัยที่เกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี

                  สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1940 ในเขตอีรี (Erie) รัฐโอไฮโอ โดยการเก็บข้อมูลนี้ มีการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
                  ผลกระทบของสื่อที่มีต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมา 600 ราย และได้ข้อสรุปว่า

                  สื่อมีอิทธิพลในระดับน้อยมากต่อการตัดสินใจของประชาชนในการออกไปเลือกตั้ง บทบาทของสื่อเป็นเพียงการ

                  กระตุ้นให้ประชาชนออกไปเลือกตั้งบุคคลที่ตนเองต้องการเลือกตั้งแต่แรก นั่นหมายความว่า สื่อไม่ได้มีอิทธิพล
                  ในการที่ท าให้ประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปลี่ยนใจในการไปเลือกตั้งประธานาธิบดีของพรรคการเมืองอื่น

                  (Lazarsfeld, Berelson, & Gaudet, 1968 as cited in Pensute, 2015, p. 273-274; Lazarsfeld, Berelson,

                  & Gaudet, 1960 as cited in Rogers, 2004, p. 5-6) ทั้งนี้ ต้องท าความเข้าใจว่าการเก็บข้อมูลของนักวิจัย
                  ในประเด็นการสื่อสารมวลชนในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1950 เป็นระยะที่โทรทัศน์ ยังไม่ได้เป็นสิ่งที่แพร่หลาย

                  ในประเทศสหรัฐอเมริกา (Rogers, 2004, p. 9) ดังนั้น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากประการหนึ่ง คือ

                  การสื่อสารผ่านกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมืองโดยตรง

                         ระยะเปลี่ยนผ่านที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารทางการเมือง เริ่มเห็นได้อย่างชัดเจน

                  ในช่วงหลังปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เนื่องจากโทรทัศน์ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่ครอบครัว

                  ชาวอเมริกันครอบครอง โดยจากผลส ารวจของประชาชนชาวอเมริกัน กว่าร้อยละ 56 รับรู้ข่าวสารทางการเมือง
                  ผ่านช่องทางหลักจากโทรทัศน์ ซึ่งในขณะที่รับรู้ผ่านหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 24 และวิทยุ ร้อยละ 14 (Graber,

                  2001 as cited in Rogers, 2004, p. 9)


                         ผลกระทบของสื่อที่มีต่อความคิดเห็นทางการเมือง ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากการมีผลกระทบในระดับ
                  ต่ าไปสู่ในระดับที่สูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญในช่วงปี ค.ศ. 1980-1990 เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลส าคัญ 2 ประการ นั่น

                  คือ สภาวะที่แปรเปลี่ยนไปของสังคม ได้แก่ การที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มภาคประชาสังคมน้อยลง
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37