Page 29 - 30422_Fulltext
P. 29

| 20

                         กระบวนการสร้างความชอบธรรมของรัฐผ่านการใช้สื่อ รัฐบาลในแต่ละประเทศจะประชาสัมพันธ์

                  นโยบายของรัฐ การออกประกาศประเภทต่าง ๆ โดยจุดประสงค์ของการสื่อสารเหล่านี้ เป็นไปเพื่อให้ประชาชน
                  สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม สื่อสามารถเป็นเครื่องมือของรัฐในการสร้างวาทกรรม

                  เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลและผู้น าของรัฐ


                  สื่อมวลชน

                         สื่อมวลชน (mass media) มีความหมายที่แตกต่างไปอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการสื่อสาร

                  ส่วนบุคคล กล่าวคือ การสื่อสารส่วนบุคคล เป็นไประหว่างบุคคล/กลุ่มบุคคล เป้าหมายของการสื่อสาร มิใช่เป็น

                  การเผยแพร่สารที่สื่อเป็นการทั่วไป และมิได้เป็นการสื่อสารออกไปสู่พื้นที่สาธารณะ ในส่วนของ สื่อมวลชน
                  (mass media) คือ การสื่อสารที่ “มีระยะ” กับผู้รับสาร ผ่านการเผยแพร่สารสู่สาธารณะ ท าให้ไม่สามารถระบุ

                  ได้ว่าใครบ้างที่เป็นผู้ได้รับทราบถึงสารนั้นแล้ว ทั้งนี้ “สาร” ที่ท าการส่งผ่านสู่สาธารณะ สามารถถูกน ามาเก็บไว้

                  สามารถถูกน ามาผลิตซ้ า และสามารถถูกน ามาขายได้ (Street, 2011, p. 6)

                         ส าหรับคณะที่มีการเรียนการสอนด้านการสื่อสารมวลชน ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์

                  Faculty/Department of Journalism หากนับการเรียนการสอนในกรณีตัวอย่างของประเทศไทย พบว่า

                  คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนในสื่อหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น
                  ภาควิชาการสื่อสารมวลชน ได้แบ่งประเภทสื่อออกเป็น 2 รูปแบบ คือ สื่อบนจอ (on-screen media) และ

                  สื่อเสียง (audio media) ภาควิชาวารสารสนเทศ มีการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับสื่อประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

                  (print media) (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ป.ป.) ดังนั้น หากแบ่งตามระบบการเรียน
                  การสอน พบว่า  สื่อสามารถถูกแบ่งออกเป็น


                         1)  สื่อประเภทบนจอ (on-screen media) ได้แก่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ

                         2)  สื่อประเภทเสียง (audio media) ได้แก่ วิทยุ พอดแคสต์ ฯลฯ
                         3)  สื่อสิ่งพิมพ์ (print media) ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ


                         ทั้งนี้ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 6 ภาควิชา

                  (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ป.ป.)  ได้แก่

                         1)  ภาควิชาวารสารสนเทศ

                         2)  ภาควิชาการสื่อสารมวลชน

                         3)  ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง
                         4)  ภาควิชาการประชาสัมพันธ์

                         5)  ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34