Page 31 - 30422_Fulltext
P. 31
| 22
วิวัฒนาการด้านการสื่อสารทางการเมืองก่อนการเกิดขึ้นของสื่อใหม่
ในปัจจุบันการสื่อสารทางการเมือง ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ส าคัญของรัฐบาล พรรคการเมือง และ
นักการเมือง ในการสื่อสารทางตรงกับผู้รับสาร ทั้งนี้ กระบวนการสื่อสารทางการเมือง ได้มีการเปลี่ยนแปลง
และถูกยกระดับการให้ความส าคัญเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุผลและปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
ทางสังคม
งานวิชาการชิ้นแรก ที่มีการพูดถึงการสื่อสารทางการเมือง คือ งานของ Walter Lippmann (1922)
ที่มีชื่อว่า “Public Opinion” โดย Lippmann เคยเป็นนักเขียนโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ให้กับทหาร
ฝ่ายสัมพันธมิตรของฝรั่งเศส ทั้งนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอ านาจกลาง
ต่างเลือกที่จะใช้โฆษณาชวนเชื่อ และโฆษณาชวนเชื่อถูกมองผ่านสาธารณชนว่าเป็นอาวุธอันทรงพลัง ข้อสังเกต
อันส าคัญของการเลือกใช้โฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐ คือ การที่รัฐเลือกที่จะใช้ข้อมูลที่ไม่ได้อิงกับหลักเกณฑ์
ทางวิทยาศาสตร์ แต่กลับใช้ข้อมูลที่อาจเป็นการลวง หรือข้อมูลที่เกินจากข้อเท็จจริง เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง
ของรัฐ (Rogers, 2004, p.4) ถัดจาก Lippmann (1922) ได้มีงานวิจัยของ Lasswell (1927) ตีพิมพ์เป็น
หนังสือเรื่อง Propaganda Technique in the World War งานชิ้นนี้ได้เขียนถึงวิธีการใช้การโฆษณาชวนเชื่อ
โดยศึกษาผ่านกรณีศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี และประเทศฝรั่งเศส (Ryfe,
2010; MIT Press, n.d.)
เนื่องจากการศึกษาด้านการสื่อสารทางการเมืองในระยะแรก (ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงก่อนการ
เกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นการศึกษาในประเด็นที่สืบเนื่องมาจากการโฆษณาชวนเชื่อ ศัพท์ค าว่า
“การสื่อสารมวลชน” หรือ “mass communication” จึงยังไม่ได้ถูกน าเข้ามาใช้ในวงการวิชาการ หากแต่เป็น
ค าว่า “มติมหาชนและโฆษณาชวนเชื่อ” (public opinion and propaganda) จวบจนกระทั่งช่วงสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1939 ถึงเริ่มมีการน าค าว่า “mass communication” มาใช้แทน (Rogers, 1994 as cited
in Rogers, 2004, p. 4, 7; Rogers, 2004, p. 7)
การศึกษาทางด้านการสื่อสารมวลชนในระยะถัดมา เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้น าทางการศึกษาในด้านนี้ ได้แก่ Paul Lazarsfeld, Harold Lasswell, Sam
Stouffer, Carl Hovland, Kurt Lewin, และ Wilbur Schramm (Rogers, 2004, p. 7) ทั้งนี้ พื้นฐานของ
ผู้บุกเบิกการเรียนการสอนด้านการสื่อสารมวลชน มีพื้นฐานมาจาก 3 ศาสตร์ทางวิชาการ ได้แก่ สังคมวิทยา
จิตวิทยา และรัฐศาสตร์ โดยภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการก่อตั้งหลักสูตรปริญญาเอกทางด้าน
การสื่อสารมวลชนตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ผู้เรียนที่ทางหลักสูตรปริญญาเอกต้องการ
ในระยะแรก คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ตรงทางด้านการสื่อสารมวลชน เช่น มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ