Page 34 - 30422_Fulltext
P. 34

| 25

                  สื่อกับความเป็นประชาธิปไตย


                         สื่อ ถือเป็นเครื่องมือส าคัญประการหนึ่งที่พิสูจน์ระดับความเป็นประชาธิปไตยของรัฐนั้น ๆ สื่อมวลชน
                  ถือเป็นตัวกลางในการน าสารไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน ทั้งนี้ กระบวนการตั้งค าถาม สืบแสวงหาข้อเท็จจริง

                  ในประเด็นต่าง ๆ รวมไปถึงการตั้งค าถามกับการใช้อ านาจของฝ่ายบริหารของรัฐ ถือเป็นสิทธิอันพึงมีของ

                  สื่อมวลชน แต่ทว่าสิทธิเหล่านี้จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ภายในรัฐ ตั้งแต่ประเด็นทางกฎหมาย
                  ไปจนถึงสภาพแวดล้อมทางการเมือง


                         ในแต่ละปี องค์กร Reporters Without Borders จะท าการจัดอันดับดัชนีการมีอิสรภาพของสื่อ

                  ในแต่ละประเทศ โดยกระบวนการจัดอันดับมีชื่อว่า World Press Freedom Index โดยจากการจัดอันดับ
                  ทั้งหมด 180 ประเทศ ในปี ค.ศ. 2020 พบว่า ประเทศที่สื่อมีอิสรภาพมากที่สุด 5 ล าดับแรกได้แก่ ประเทศ

                  นอร์เวย์ (7.84), ฟินแลนด์ (7.93), เดนมาร์ก (8.13), สวีเดน (9.25) และประเทศเนเธอร์แลนด์ (9.96)

                  ประเทศที่สื่อมีอิสรภาพต่ าที่สุด 5 ล าดับแรก ได้แก่ ประเทศเกาหลีเหนือ (85.82), เติร์กเมนิสถาน (85.44),
                  เอริเทรีย (83.50), จีน (78.48) และประเทศจิบูตี (76.73) ในส่วนของประเทศไทย ถือว่าสื่อมีอิสรภาพเป็น

                                                                       8
                  อันดับที่ 140 (44.94) (Reporters Without Borders, n.d. [b])

                         World Press Freedom Index มีการจัดอันดับโดยการใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและ
                  เชิงปริมาณ โดยมีการถามค าถามโดยเน้นผู้ตอบค าถามเป็นผู้ท างานด้านสื่อ นักกฎหมาย และนักสังคมวิทยา

                  รวมเป็นจ านวน 87 ข้อค าถามผ่านแบบสอบถามที่มีการแปล 20 ภาษา เพื่อลดความคลาดเคลื่อนและความ

                  ไม่เท่าเทียมกันในการท าความเข้าใจข้อค าถาม โดย Reporters Without Borders นับว่าการตอบค าถามผ่าน
                  แบบสอบถามเป็นข้อมูลในเชิงคุณภาพ ในส่วนของข้อมูลเชิงปริมาณมาจาก ข้อมูลที่ผู้สื่อข่าวถูกล่วงละเมิดหรือ

                  ถูกกระท าความรุนแรง (Reporters Without Borders, n.d. [c])


                         ตัวชี้วัดดัชนีการมีอิสรภาพของสื่อมาจาก 7 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (Reporters Without Borders, n.d. [c])
                         1)  ความเป็นพหุนิยม (Pluralism) หมายถึง ระดับความคิดเห็นหลากหลายที่ได้ถูกน าเสนอผ่านสื่อ

                             เช่น หากความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีสื่อที่น าเสนอความคิดเห็นที่หลากหลาย

                             ในระดับต่ า ถือว่าความเป็นพหุนิยมของสื่ออยู่ในระดับน้อย
                         2)  ความเป็นอิสระของสื่อ (Media independence) หมายถึง ความเป็นอิสระของสื่อในการน าเสนอ

                             ข้อมูลโดยปราศจากการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาล การเมือง ธุรกิจ และศาสนา

                         3)  สภาพแวดล้อมและการเซ็นเซอร์ตนเอง (Environment and self – censorship) หมายถึง
                             สภาวะแวดล้อมที่ผู้ให้ข่าวและข้อมูลด าเนินการ




                  8  คะแนนในระดับต่ าหมายความถึงสถานการณ์ที่ดี
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39