Page 35 - 30422_Fulltext
P. 35
| 26
4) กรอบกฎหมาย (Legislative framework) หมายถึง การวัดผลว่ากรอบกฎหมายส่งผลอย่างไร
ต่อการควบคุมกิจกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและข่าว
5) ความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การวัดผลของความโปร่งใสของสถาบันและกระบวนการ
ต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกระบวนการผลิตข้อมูลข่าวสาร
6) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) หมายถึง การวัดผลของคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานที่มีส่วน
ในการสนับสนุนกระบวนการผลิตข้อมูลข่าวสาร
7) การถูกล่วงละเมิด (Abuses) หมายถึง การวัดระดับของการถูกล่วงละเมิดและการใช้ความรุนแรง
โดยผลของการวัดระดับจะออกมาอยู่ในระดับตัวเลขที่ 0-100
คะแนนจากมาตรวัดทั้ง 7 จะถูกน ามาค านวณเป็นตัวเลข 0-100 โดยเกณฑ์ของคะแนนบ่งบอกถึง
ลักษณะ ดังนี้
คะแนน ความหมาย
0 – 15 สถานการณ์อยู่ในระดับที่ดี
15.01 – 25 สถานการณ์อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ
25.01 – 35 สถานการณ์อยู่ในระดับที่เป็นปัญหา
35.01 – 55 สถานการณ์อยู่ในระดับที่ยากล าบาก
55.01 – 100 สถานการณ์อยู่ในสภาวะตึงเครียดเป็นอย่างยิ่ง
ตารางที่ 2: ตารางแสดงคะแนนการมีอิสรภาพของสื่อ
ที่มา: Reporters Without Borders, n.d. [c]
จากผลคะแนนการมีอิสรภาพของสื่อ พบว่า ใน 180 ประเทศ มีเพียง 47 ประเทศ (ร้อยละ 26.11)
ที่อิสรภาพของสื่ออยู่ในสถานการณ์ในระดับที่ดีและน่าพึงพอใจ ในส่วนของประเทศไทยมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์
สถานการณ์อยู่ในระดับที่ยากล าบาก ซึ่งถ้าหากเรียงล าดับอิสรภาพของสื่อในประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า
ไทยอยู่ในล าดับที่ 5 รองจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศเมียนมา (Reporters
Without Borders, n.d. [b])
ล าดับที่ ประเทศ คะแนนอิสรภาพของสื่อ อันดับโลก
1 มาเลเซีย 33.12 101
2 อินโดนีเซีย 36.82 119
3 ฟิลิปปินส์ 43.54 136
4 เมียนมา 44.77 139
5 ไทย 44.94 140