Page 40 - 30422_Fulltext
P. 40

| 31

                  บทบาทของสื่อในประเด็นทางด้านการเมือง


                         สื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับทางการเมืองโดยตรง ในฐานะการเป็นตัวกลางในการน าข่าวสารในประเด็นของ
                  การเมืองเผยแพร่สู่สาธารณชน สื่อมีบทบาทในการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาให้ความส าคัญในประเด็น

                  ทางการเมืองต่าง ๆ นอกจากในประเด็นของสื่อทางเดียวที่ส่งข่าวสารทางการเมืองแก่ผู้ชมโดยตรง เช่น

                  หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ในปัจจุบันยังมีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่สื่อน าข่าวลงเผยแพร่และเป็นช่องทาง
                  ที่ผู้รับข่าวสารสามารถแสดงความคิดเห็นได้โดยตรง จากเดิมที่นิยามของค าว่าสื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยรัฐ

                  องค์กรสื่ออย่างเป็นทางการ เช่น สถานีโทรทัศน์ ในปัจจุบัน บุคคลทั่วไปสามารถเป็นสื่อมวลชนได้ ทั้งนี้

                  นักการเมืองได้เลือกช่องทางโซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ข่าวสารที่ตนเองต้องการสื่อออกไปยังประชาชน
                  โดยตรงด้วยความคาดหวังว่าสารจะถูกน ามาเผยแพร่อย่างถูกต้องครบถ้วนตามความต้องการในการสื่อสารทาง

                  การเมืองโดยไม่พึ่งบทบาทของสื่อมวลชนอื่น ๆ เป็นหลักในการน าเสนอข่าว


                         สื่อมีบทบาทเป็นตัวกลางหลักในการสื่อสารในช่วงระยะเวลาระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ในงานเขียน
                  เรื่อง The Cost of Democracy โดย Heard (1960, p. 403) ระบุว่า สาเหตุที่ท าให้ค่าใช้จ่ายของการเลือกตั้ง

                  มีราคาที่สูงขึ้น เป็นเพราะค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับสื่อประเภทวิทยุและโทรทัศน์ (Heard, 1960, p. 403 as cited

                  in Abrams & Settle, 1976, p. 1096) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างสื่อประเภทวิทยุและโทรทัศน์ A
                  Ralph Nader Congress Project พบว่า ค่าใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาการหาเสียงถูกใช้ไปกับโทรทัศน์

                  มีจ านวนมากกว่าสื่อประเภทอื่น ๆ อย่างมีนัยส าคัญ (Green et. al, 1972, p. 9 as cited in Abrams &

                  Settle, 1976, p. 1096)

                         ถึงแม้ค่าใช้จ่ายจ านวนมากส าหรับการประชาสัมพันธ์ผู้สมัครหาเสียงเลือกตั้ง จะถูกน าไปใช้กับ

                  สื่อประเภทโทรทัศน์ งานของ Herrnson (2000) พบว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งวุฒิสมาชิกและสมาชิก

                  ผู้แทนราษฎรของประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ ต่างมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประเภทโทรทัศน์
                  และวิทยุ โดยร้อยละ 90 ของผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฎรใช้วิทยุเป็นสื่อประชาสัมพันธ์และผู้สมัครวุฒิสมาชิก

                  เกือบทุกคนต่างก็ใช้สื่อประเภทวิทยุ แต่หากเมื่อดูตัวเลขของการใช้สื่อประเภทโทรทัศน์ พบว่า ผู้สมัครลง

                  เลือกตั้งประเภทสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร้อยละ 70 เลือกใช้สื่อโทรทัศน์ ในขณะที่ผู้สมัครวุฒิสมาชิกร้อยละ
                  90 เลือกใช้สื่อโทรทัศน์ หมายความว่าสื่อประเภทวิทยุถูกใช้เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์มากกว่าโทรทัศน์

                  หากแต่ในภาพรวมจ านวนเงินที่ผู้สมัครใช้ในการประชาสัมพันธ์หมดไปกับโทรทัศน์เป็นจ านวนเงินที่มากกว่า

                  สาเหตุที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกใช้บริการโทรทัศน์น้อยกว่า นั่นเป็นเพราะ
                  ค่าใช้จ่ายของสื่อประเภทโทรทัศน์ที่มีมูลค่าสูงกว่า โดยสื่อประเภทวิทยุมีราคาค่าใช้จ่ายต่อครั้งน้อยกว่าโทรทัศน์

                  อย่างมีนัยส าคัญ (Herrnson, 2000 as cited in Overby & Barth, 2006, p. 453)
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45