Page 42 - 30422_Fulltext
P. 42
| 33
นอกเหนือไปจากบทบาทของนักการเมือง และสื่อกระแสหลักที่มีอิทธิพลในการส่งสารไปยังผู้รับสาร
ในปัจจุบัน กระแสของสื่อพลเมือง (citizen media) ถือว่ามีบทบาทมากขึ้นในทางการเมือง โดยข้อดีของ
สื่อพลเมือง คือ การปราศจากการตกอยู่ใต้อิทธิพลความกดดันทางเศรษฐกิจหรือการเมือง สื่อพลเมืองไม่ได้
มีเจ้าของหรือผู้อยู่เบื้องหลังสื่อเป็นองค์กรทางการเมืองหรือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ (Beers, 2006 as cited in
Park, 2017, p. 1162) ดังนั้น การเผยแพร่ข้อมูลของสื่อพลเมืองจึงถือเป็นสิทธิขาดของพลเมืองที่สามารถ
แสดงออกซึ่งความคิดเห็นอย่างมีสิทธิเสรีภาพ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าขอบเขตทางด้านกฎหมายของรัฐจะครอบคลุม
เสรีภาพในการแสดงออกโดยมีข้อจ ากัดอยู่ที่ใด
สื่อใหม่
สื่อใหม่ (New Media) ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อการสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ นิยามของ
สื่อใหม่ คือ “...สื่อ (ประเภท) ใดก็ได้ – ตั้งแต่บทความข่าวและบล็อกไปจนถึงดนตรีและพอดแคสต์ ที่มีการ
ส่งผ่านทางดิจิทัล” (Cote, 2020) โดย Cote (2020) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า สื่อใหม่ไม่ได้จ าเป็นที่จะต้องมี
ความใหม่ในรูปแบบเสมอไป อาทิเช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนามาจากสื่อเก่าในรูปแบบ
ที่คุ้นชิน โดยเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่เป็นหนังสือพิมพ์ในรูปแบบที่จับต้องสัมผัสได้ ไปเป็นรูปแบบออนไลน์แทน
สื่อใหม่ยังรวมไปถึงสื่อที่เกิดขื้นมาใหม่เพื่อรองรับการส่งผ่านทางดิจิทัล เช่น พอดแคสต์ และแอปพลิเคชัน
ต่าง ๆ ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรืออาจกล่าวได้ในภาพรวม คือ “สิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
ในรูปแบบของการสื่อสารคือสื่อใหม่” (Cote, 2020) โดยตัวอย่างของสื่อใหม่ในปัจจุบัน ได้แก่ “เว็บไซต์ บล็อก
อีเมล เครือข่ายโซเชียลมีเดีย ดนตรีและทีวีผ่านรูปแบบสตรีมมิ่ง ความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality – VR)
และความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality – AR)” (Cote, 2020)
สื่อใหม่ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง อาทิเช่น สื่อดั้งเดิมมีการผลิตสื่อเพื่อการสื่อสาร
ในวงกว้าง และมีลักษณะที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่สื่อใหม่กลับเป็นไปในลักษณะตรงข้าม นั่นคือ
ผู้รับสารสามารถเข้าถึงสื่อและสร้างสรรค์สื่อโดยเป็นไปในลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล (Olason & Pollard, 2004
as cited in Chen, 2012, p. 1) นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการสื่อสารโดยตรงแล้ว
การก้าวเข้ามาของสื่อใหม่ยังส่งผลกระทบทั้งด้านวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ ไปจนถึงกระบวนการ
แลกเปลี่ยนทางสังคมตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ (Steger, 2009 as cited in Chen, 2012, p. 1)
ยกตัวอย่างเช่น การรับรู้ข่าวสารทางด้านการเมือง สามารถแพร่หลายในวงกว้างในลักษณะของการข้าม
พรมแดน ส่งผลให้เกิดการสนับสนุน ลอกเลียนแบบ หรือต่อต้าน ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว อาทิเช่น เหตุการณ์
อาหรับสปริง (Arab Spring) ในปี ค.ศ. 2010-2012 ที่ผลจากการติดต่อสื่อสารเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์
ผ่านแพลตฟอร์มอาทิเช่น Facebook เพื่อต่อต้านรัฐบาล ส่งผลให้ประชาชนในรัฐที่มีระบอบการปกครองที่มี
ความคล้ายกัน เช่น ประเทศตูนิเซีย เยเมน อียิปต์ ลิเบีย ฯลฯ ท าการล้มล้างระบอบการปกครองแบบสืบทอด