Page 45 - 30422_Fulltext
P. 45

| 36

                  จริยธรรมบนโลกออนไลน์


                         จริยธรรมบนโลกออนไลน์ นอกเหนือไปจากปัญหาของข่าวปลอมและสภาวะอันล้นเกินของข้อมูล
                  ปัญหาของจริยธรรมบนโลกออนไลน์ถือเป็นอีกประเด็นที่ยังคงเป็นข้อถกเถียงในระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่าง

                  ของข้อถกเถียงทางจริยธรรม ได้แก่ กรณีของ Darknet ทั้งนี้ การเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตถูกแบ่งออกเป็น

                  2 ประเภท ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลผ่านสิ่งที่เรียกว่า “Clearnet” หรือการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อยู่ในระบบการเข้าถึง
                  แบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) (Graham and Pitman, 2020, p. 594) ยกตัวอย่างเช่น การเข้าถึง

                  เว็บไซต์ที่สามารถค้นหาผ่านกูเกิล (Google) หรือเพียงใส่เวิลด์ไวด์เว็บตามด้วยชื่อเว็บใส่และพิมพ์ค าว่า

                  ดอทคอม หรืออื่น ๆ เช่น www.pantip.com, www.cmu.ac.th หรือท าการค้นหาชื่อที่อยู่เว็บไซต์
                  ผ่านเครื่องมือค้นหา เช่น กูเกิล (Google)


                         ในทางตรงกันข้ามกับ Clearnet คือ “Darknet” นิยามของ Darknet ถือก าเนิดขึ้นในยุค 1970

                  มาจากเครือข่ายที่มีชื่อว่า The Advanced Research Projects Agency Network (ARPANET) (Pace, 2017
                  as cited in Mirea et al., 2018, p. 104) ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดของ Darknet คือ การเข้าถึงเป็นระบบ

                  peer-to-peer ซึ่งเป็นโครงข่ายที่ซ่อนตัวตน (Mirea et al., 2018, p. 104) ข้อได้เปรียบของ Darknet

                  ที่แตกต่างจาก Clearnet คือ การไม่ทิ้งร่องรอยทางดิจิทัล ท าให้ยากต่อการติดตามตัวตนของผู้ใช้งาน
                  กระบวนการใช้งานของ Darknet ได้ถูกแบ่งตามลักษณะของการใช้งานออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่


                         1)  กลุ่มกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน นักกิจกรรม ผู้แจ้งเบาะแส

                         2)  กลุ่มอาชญากรที่ท าการค้าผ่านระบบ
                         3)  กลุ่มภัยความมั่นคงบนโลกไซเบอร์ เช่น การปล่อยมัลแวร์เข้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์

                             (Moore and Rid, 2016 as cited in Mirea et al., 2018, p. 104-106)


                         ทั้งกรณีของ Clearnet และ Darknet สามารถถูกน ามาใช้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันทางจริยธรรม
                  ออนไลน์ อาทิเช่น ปัญหาการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ (cyberbullying) ที่เกิดขึ้นผ่าน Clearnet ซึ่งส่งผล

                  ให้ผู้ตกเป็นเหยื่อทางการกลั่นแกล้ง โดย cyberbullying หมายความถึง “การส่ง การแชร์ การโพสต์ เนื้อหาที่

                  ไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื้อหาที่ไม่สุภาพ เนื้อหาเชิงลบ เกี่ยวกับบุคคลอื่น” รวมไปถึง “การส่งต่อข้อมูล
                  ส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดการอับอาย” (stopbullying.gov, 2020) ทั้งนี้ ปัญหาของการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

                  ถือเป็นประเด็นทางจริยธรรม อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกา มิได้มีกฎหมายในระดับรัฐบาลส่วนกลางที่ออกมา

                  ต่อต้านการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (stopbullying.gov, 2018) เพราะเอกสิทธิหนึ่งที่ระบุไว้ตามรัฐธรรมนูญ
                  ในส่วนของสิทธิเสรีภาพ คือ หลักการให้เสรีภาพในการพูด โดยส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่ง

                  สหรัฐอเมริกาครั้งที่ 1 คือ “สภาคองเกรสห้ามบัญญัติกฎหมาย ที่ตัดสิทธิ (ประชาชน) จากการมีเสรีภาพในการพูด...”
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50