Page 43 - 30422_Fulltext
P. 43
| 34
อ านาจอันยาวนานภายในรัฐ ทั้งนี้ งานของ Wolfsfeld, Segev, & Sheafer (2013, p. 118) ระบุว่า อีกชื่อ
เรียกคู่ขนานของอาหรับสปริง คือ “Facebook Revolution” และถึงแม้จะมีการวิพากษ์กรณีของอาหรับสปริง
โดยนักวิชาการว่าไม่ควรมองโซเชียลมีเดียหรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตว่าเป็นผู้สร้างหลักในการเกิดเหตุการณ์
อาหรับสปริง ในกรณีของ Norris (2012) มองว่าเครือข่ายทางสังคม มีความส าคัญมาตั้งแต่ก่อนการเข้าถึง
อินเทอร์เน็ต และ Comunello and Anzera (2012) มองว่ากระบวนการวิเคราะห์โดยให้ความส าคัญกับ
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะมองไปยังภาพรวมของเหตุการณ์อาหรับ
สปริง หากแต่จะต้องให้ความส าคัญกับบริบททางทฤษฎีของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย (Norris, 2012
as cited in Wolfsfeld, Segev, & Sheafer, 2013, p. 118; Comunello and Anzera, 2012 as cited in
Wolfsfeld, Segev, & Sheafer, 2013, p. 118) อย่างไรก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผลิตภัณฑ์โซเชียลมีเดียอย่าง
Facebook และ Twitter เป็นตัวจุดประกายให้เกิดความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการของประชาชนในระดับ
วงกว้าง และความสัมพันธ์แบบหลวมนี้ ก่อก าเนิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ทั้งในด้านความคิด
ทางการเมือง การแลกเปลี่ยนข้อมูลมหาศาลผ่านเหตุการณ์จริง เช่น เรื่องเล่า รูปภาพ คลิปวิดีโอ การสร้าง
อารมณ์ร่วมของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย จนน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในความเป็นจริง
ข้อดีหลักของสื่อใหม่ คือ ความสามารถในการเข้าถึงผู้รับสารที่สามารถขยายขอบข่ายการเข้าถึง
ได้อย่างไม่จ ากัด และการลดต้นทุนด้านเวลาในการเข้าถึงผู้รับสาร อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของสื่อใหม่ คือ
เมื่อความสามารถในการขยายขอบข่ายถึงผู้รับสารเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ส าหรับสื่อมวลชนมีปริมาณมากขึ้นอย่าง
ไม่จ ากัด ก่อให้เกิดสภาวะปัญหาของการล้นเกินทางข้อมูล และการเปิดพื้นที่ของสื่อใหม่ส่งผลให้เกิดการสื่อสาร
และสารในปริมาณมหาศาล ทั้งที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง
ข่าวปลอม (Fake News)
ข่าวปลอม (Fake News) ถือเป็นปัญหาส าหรับความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนในปัจจุบัน ทั้งนี้
ค าว่า “ข่าวปลอม” ได้กลายเป็นค าที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ช่วงการเลือกตั้งเพื่อชิงต าแหน่ง
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2016 ระหว่าง Hillary Clinton จากพรรคเดโมแครต และ Donald J.
Trump จากพรรครีพับลิกัน (Albright, 2017; Vargo, Guo, & Amazeen, 2018; Quandt, Frischlich,
Boberg, & Schatto-Eckrodt, 2019) ทั้งนี้ ค าว่า “Fake News” ได้ถูกยกให้กลายมาเป็น “ค าแห่งปี”
ในปี ค.ศ. 2017 โดย Collins Dictionary (Quandt, Frischlich, Boberg, & Schatt-Eckrodt, 2019, p. 1)
Alcott and Gentzkow (2013, p. 213) ระบุว่า “ข่าวปลอม” คือ บทความข่าวที่จงใจให้เนื้อความข่าวนั้น
เป็นเท็จ และสามารถส่งผลให้ผู้อ่านเข้าใจผิดในความเท็จนั้นว่าเป็นข้อมูลจริง ทั้งนี้ จะต้องไม่นับว่า การเขียน
ข่าวที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอันเกิดจากการเข้าใจผิดของผู้เขียนเป็นข่าวปลอม เพราะข่าวปลอมในบริบทนี้
จะต้องเป็นไปด้วยความ “จงใจ” ให้เกิดความบิดเบือน มิใช่เกิดจากความประมาทของผู้ส่งสาร นอกจากนี้