Page 28 - 30422_Fulltext
P. 28
| 19
บทที่ 2
การสื่อสารทางการเมือง
ในบทนี้จะเป็นการทบทวนทฤษฎีและวรรณกรรมในประเด็นนิยามความหมายของสื่อมวลชน
การแบ่งประเภทของสื่อ และการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน
วิวัฒนาการด้านการสื่อสารทางการเมือง สื่อกับความเป็นประชาธิปไตย บทบาทของสื่อในประเด็นทางด้าน
การเมือง สื่อใหม่และพอดแคสต์และข้อวิพากษ์ พอดแคสต์ในต่างประเทศกับการสื่อสารทางการเมือง
พอดแคสต์ในประเทศไทยกับการสื่อสารทางการเมือง
สื่อมวลชน การแบ่งประเภทของสื่อ และการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากร
ที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน หัวข้อนี้จะเป็นการอธิบายความแตกต่างระหว่างการสื่อสารกับสื่อมวลชน
ประเภทของสื่อ และความแตกต่างของการเรียนการสอนในประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการ
ส ารวจโครงสร้างหลักสูตรตัวอย่างในระดับอุดมศึกษา เพื่อวิเคราะห์ถึงการผลิตบุคลากรสื่อเพื่อตอบรับต่อ
ความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละประเทศ
วิวัฒนาการด้านการสื่อสารทางการเมือง เป็นการเปรียบเทียบผ่านทางช่วงเวลาของการสื่อสาร
ทางการเมือง โดยมีการแบ่งช่วงระยะเวลาออกเป็น ระยะที่หนึ่ง: ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 – ก่อนสงครามโลก
ครั้งที่ 2, ระยะที่สอง: ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 – ปี ค.ศ. 1950, ระยะที่สาม: ระยะเวลาที่ประชาชนในประเทศ
สหรัฐอเมริกามีโทรทัศน์ครอบครองในครัวเรือนในปริมาณมากขึ้นอย่างมีนัยส าคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่
ปี ค.ศ. 1950-1960 และระยะที่สี่: การเปลี่ยนแปลงทางด้านการสื่อสารทางการเมืองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980
เป็นต้นมา
สื่อกับความเป็นประชาธิปไตย หน้าที่หลักของสื่อคือ การท าหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อเท็จจริง
การน าข้อมูลอันมีปริมาณมหาศาลมาย่อยให้ผู้รับสารสามารถท าความเข้าใจกับข้อมูลนั้นได้โดยสะดวก
นอกจากนี้ หน้าที่ของสื่ออีกประการคือ การท าหน้าที่เป็นผู้สืบสวนแสวงหาข้อเท็จ ไม่ว่าจะเป็นการสืบสวน
โดยผ่านการเก็บข้อมูลที่มีการเผยแพร่โดยเปิดเผย หรือการแสวงหาข้อเท็จจริงจากแหล่งที่มาที่มีการปกปิด
ข้อมูล ทั้งนี้ สื่อมวลชนมีอิสรภาพในการส่งสารไปยังผู้รับมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
ไม่ว่าจะเป็น ระบอบการปกครอง กฎหมายที่ออกโดยรัฐ ระบบการเซ็นเซอร์สารที่ปรากฏในสื่อ ไปจนถึง
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแก่นักข่าว (Reporters Without Borders, n.d. [a])
บทบาทของสื่อในประเด็นทางด้านการเมือง การแสดงข่าวด้านการเมืองของสื่อมีผลต่อการตัดสินใจ
ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ปัญหาที่เกิดจากการใช้สื่อในกระบวนการหาเสียงเลือกตั้ง โดยใช้วิธีการสร้าง
ข่าวปลอมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่กลุ่มหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้ง