Page 60 - kpi9942
P. 60

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว        จ.เชียงใหม่



              สอดคล้องกับข้อสังเกตของวีระศักดิ์ เครือเทพ  นอกจากนี้ แนวคิดของการทำงานของนายก
                                                10
              องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วคนปัจจุบัน ยังยึดหลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมทั้ง
              การบริหารงานบนหลักธรรมาภิบาลอื่นๆ ในการทำงานทุกๆ อย่างขององค์การบริหารส่วนตำบล

                      ในกรณีของข้าราชการส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วนั้น เป็นที่
              ยอมรับเป็นการทั่วไปในแวดวงนักบริหารงานท้องถิ่นทั่วประเทศว่า นางอุบล ยะไวทย์ ซึ่งดำรง

              ตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนา
              และผลงานที่ดีเด่นต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว  ทั้งนี้ในอดีตนั้น
                                                                    11
              ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำ แต่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนถึง
              ปัจจุบันที่กลายเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดีในระดับประเทศ
              โดยมีข้อมูลของพัฒนาการขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ดังนี้

                      ช่วงแรก: องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2538 โดยช่วงแรก

              เป็นการทำงานกันเองของกรรมการบริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยตำแหน่ง
              (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) และมาจากการเลือกตั้ง ส่วนพนักงานส่วนตำบลเริ่มบรรจุเข้ามาปฏิบัติงานใน
              ช่วงปลายปี 2539 แล้ว ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้นในส่วนของตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
              หัวหน้าส่วนการคลัง และหัวหน้าส่วนโยธานั้น ทางสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือฝ่าย



                  10   วีระศักดิ์ เครือเทพ (อ้างแล้ว: 190) พบว่า บทสรุปเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์
                    ของผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำถือ
                    เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติภารกิจ
                    ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างยิ่ง

                  11   วีระศักดิ์ เครือเทพ (อ้างแล้ว: 187-188) พบว่า เกี่ยวกับภาวะผู้นำของข้าราชการท้องถิ่น
                    กับความสำเร็จของนวัตกรรมสร้างสรรค์ของท้องถิ่น (Local Initiative) พบว่า
                    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพนักงานท้องถิ่น มีอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้ ประการ
                    แรก คำนึงถึงเป้าหมายและผลสำเร็จของงานมากกว่าการปฏิบัติงานตามระเบียบ
                    ประการที่สอง มุ่งตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น (Outside-in) มากกว่าการ
                    คำนึงถึงความต้องการของหน่วยงาน (Inside-out) และ ประการที่สาม นอกเหนือไป
                    จากการที่ผู้บริหารฝ่ายประจำควรมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแล้วนั้น ก็ควรมี
                    ทักษะในการปฏิบัติงานที่หลากหลาย (Multi-skills) และยืดหยุ่น

                                                                                55
                                                    ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65