Page 53 - kpi9942
P. 53
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
บ้านพักอาศัยของตนเอง แล้วเดินทางไป-กลับระหว่างบ้านพักอาศัยที่ตำบลดอนแก้วและที่ทำงาน
ในตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ เพราะอำเภอแม่ริมเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดและศูนย์ราชการ
จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีหน่วยราชการส่วนกลางและหน่วยราชการส่วนภูมิภาคตั้งสำนักงานอยู่เป็น
จำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตตำบลดอนแก้วเอง
ประการที่สอง เป็นผลสืบเนื่องจากการที่มีประชากรเลือกมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวน
มาก และเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการและส่วนราชการนั้น ทำให้สภาพคล่องทางเศรษฐกิจในตำบล
ดอนแก้วมีค่อนข้างสูง เพราะคนเหล่านั้นมีกำลังทรัพย์ในการจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งข้าราชการและ
ลูกจ้างของส่วนราชการจำนวนมากที่มาอาศัยอยู่ในเขตตำบลดอนแก้ว ก็มีถือว่าเป็นกลุ่มประชากรที่
มีรายได้ค่อนข้างแน่นอน และมีอัตรารายได้ปานกลางถึงค่อนข้างสูง (เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม
อาชีพอื่น) นอกจากนี้ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วยังมีแหล่งท่องเที่ยว โรงแรมขนาด
ใหญ่ หอพัก อพาร์ทเมนต์ และ บ้านเช่า ฯลฯ เป็นต้น ทำให้สามารถจัดเก็บรายได้ที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บเอง ได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และ ภาษี
ป้าย ได้ในจำนวนที่ค่อนข้างมาก กล่าวคือ ช่วงระหว่างปี 2545-2550 องค์การบริหารส่วนตำบล
ดอนแก้วสามารถจัดเก็บภาษีได้ เฉลี่ยระหว่าง 1 ล้านถึง 1.7 ล้านบาท ดังนั้น หากสามารถใช้
เกณฑ์รายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บได้เองเป็นตัวชี้วัดฐานะทางเศรษฐกิจของ
ชุมชน ก็ถือได้ว่า ชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว มีฐานะทางเศรษฐกิจชุมชนที่ค่อน
ข้างดี
ส่วนสำหรับสภาพแวดล้อมทางชุมชนทางสังคมและวัฒนธรรมนั้น องค์การบริหารส่วน
ตำบลดอนแก้วมีเวทีในลักษณะของเวทีประชาคม (Public Window) ที่เรียกว่า “ข่วงกำกึ๊ด” ซึ่ง
เป็นลานความคิดหรือการประชุมสัมมนาแบบไม่เป็นทางการที่ผู้บริหาร สมาชิกสภา และข้าราชการ
ขององค์การบริหารส่วนตำบลนั่งจับเข่าคุยกับชาวบ้านเกี่ยวกับสาระทุกข์สุขดิบ ปัญหาของพื้นที่และ
แนวทางการแก้ไขปัญหา การทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งขอความคิดเห็นของ
ประชาชนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน โดยกิจกรรมที่เรียกว่า “ข่วงกำกึ๊ด” นี้ จะจัด
ขึ้นในช่วงเวลาเย็น อันเป็นเวลาที่ทุกๆ ฝ่ายเสร็จภารกิจจากงานประจำวันแล้ว 5
5 สัมภาษณ์ ศิรัญญา สุนทร, 20 เมษายน 2551
สถาบันพระปกเกล้า