Page 50 - kpi9942
P. 50

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว        จ.เชียงใหม่



              3.1  ปัจจัยด้านบริบท (Contextual Factors)

                    ในที่นี้ ปัจจัยด้านบริบท หมายถึง ปัจจัยภายนอกอันแวดล้อมการทำงานขององค์กร
              ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ 1) กฎหมายต่างๆ ที่กำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน
              ท้องถิ่น 2) สภาพแวดล้อมของชุมชนทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 3) แรงผลักดัน

              การสนับสนุน และการกระตุ้นจากภายในและภายนอก และ 4) การเมืองภายในพื้นที่

                    1)  กฎหมายต่างๆ ที่กำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                      การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
              นับเป็นก้าวแรกของการเกิดขึ้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลเป็นครั้งที่ 2 ภายหลัง

              จากเคยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 ซึ่งมีการ
              บัญญัติให้มีจัดตั้ง “องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต.” เช่นกัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จใน
              การจัดตั้งและการดำเนินการเท่าไรนัก จนกระทั่งถูกยุบเลิกไปโดยสิ้นเชิง ตามประกาศคณะปฏิวัติ
              เมื่อปี 2515 และถ้าพิจารณาถึงบริบทของการเกิดขึ้นของกฎหมายว่าด้วยองค์การบริหารส่วนตำบล
              นั้น น่าจะมีที่มาอย่างน้อย 2 ปัจจัย กล่าวคือ หนึ่ง กระแสของการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง
              ภายหลังการเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

              และสอง กระแสของการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด จนทำให้รัฐบาลของนายชวน
              หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตัดสินใจเสนอร่างกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหาร
              ส่วนตำบลเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา และได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภา ในปี 2537 และมีผล
              บังคับใช้ในวันที่ 2 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศยกฐานะ
              สภาตำบลดอนแก้ว เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว


                      แม้องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลรุ่นแรกที่ได้รับ
              การประกาศให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเต็มรูปแบบและมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่เนื่องจาก
              ในขณะนั้น ทิศทางของการเจริญเติบโตขององค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่มีความชัดเจนในอำนาจ
              หน้าที่ของตนเอง รวมทั้งบุคลากรทั้งฝ่ายการเมือง (กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เข้ามาเป็นโดยตำแหน่ง และ
              สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้ง) และฝ่ายพนักงานท้องถิ่น (ปลัด

              องค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนการคลัง และ หัวหน้าส่วนโยธา ที่เพิ่งสอบแข่งขันและบรรจุ
              หรือโอนเข้ามา) ต่างก็เริ่มต้นการทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเริ่มต้นจากศูนย์ หรือกล่าว
              อีกนัยหนึ่งคือ การเกิดขึ้นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล
                                                                                 5
                                                    ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55