Page 10 - kpi9942
P. 10
บทนำ
1) องค์กรทางการเมือง: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรทางการเมือง รัฐบาล
มอบอำนาจรัฐให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติเฉพาะท้องถิ่น มีการเลือก
ตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีการให้ความเป็น
อิสระท้องถิ่น (Local Autonomy) รัฐธรรมนูญบัญญัติค้ำประกันความเป็นอิสระของ
ท้องถิ่น รัฐบาลกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เท่าที่จำเป็น ในทางรัฐศาสตร์
ด้วยความเป็นองค์กรทางการเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงถือเป็นรากฐาน
สำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตย การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน รวมทั้งเป็นการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ในมิตินี้คงไม่
แปลกใจที่ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องตอบสนองต่อ
ความต้องการของประชาชน และมีความรับผิดชอบทางการเมืองต่อประชาชน
(Political Accountability)
2) องค์กรทางการบริหาร/ราชการ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดบริการ
สาธารณะแก่ประชาชนและถือเป็นองค์กรราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องปฏิบัติตาม
ระเบียบกฎเกณฑ์และมาตรฐานในการดำเนินงาน คำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
และความคุ้มค่า ในมิตินี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ต่างจากหน่วยงานราชการอื่นๆ
ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ และมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน การละเมิด หรือ
ปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย สามารถนำสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ ประกอบ
กับงบประมาณหรือรายได้ของท้องถิ่นต้องมีการใช้จ่ายอย่างสุจริต เป็นตามระเบียบ
ประสบการณ์ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักได้รับบทบาทเสมือนเป็นแขนขา
ของรัฐบาล หรือเป็นหน่วยงานปฎิบัติ ประกอบกับบุคลากรท้องถิ่นมีฐานะเป็น
ข้าราชการท้องถิ่น ส่งผลให้มิติการเป็นองค์กรบริหารทำงานเสมือนเป็นหน่วยงาน
ราชการค่อนข้างชัดเจน และมีอิทธิพลต่อการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50