Page 15 - kpi9942
P. 15
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
2.2 กรอบความคิดและการประเมินรางวัลพระปกเกล้า
รางวัลพระปกเกล้าเป็นรางวัลที่มีบุคลิกลักษณะพิเศษ ดังแสดงจากลักษณะสำคัญของ
รางวัลดังนี้
1) เป็นรางวัลที่เน้นความสมัครใจและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมจะสมัครเข้าสู่กระบวนการพิจารณารางวัล
ของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับรางวัล
พระปกเกล้า
2) การพิจารณารางวัลพระปกเกล้าอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการพิจารณา
คัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้า ซึ่งประกอบด้วย
ผู้ทรงคุณวุฒิหลายหลายอาชีพ นักวิชาการ ผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลและ
ตรวจสอบ อาทิเช่น ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจและสื่อมวลชน ในกรรมการชุดนี้ไม่มีตัวแทน
จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันปัญหาการมีส่วนได้ส่วนเสีย
3) การประเมินใช้อิงมาตรฐาน ดังนั้นรางวัลพระปกเกล้าไม่มีอันดับหนึ่ง อันดับสอง หรือ
อันดับสาม มีเพียง 2 ระดับ คือ
(1) ผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ และไม่มีข้อมูลทุจริตจาก สำนักงานตรวจเงิน
แผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่
ผ่านมาตรฐานจะได้รับประกาศเกีรยติคุณสถาบันพระปกเกล้า
(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศ ได้รับรางวัลพระปกเกล้า ซึ่งจากกลุ่มที่
ผ่านมาตรฐานแล้ว จะมีการพิจารณาว่าองค์กรใดมีผลงานด้านการมีส่วนร่วม
ของประชาชนและความโปร่งใสโดดเด่น สูงกว่ามาตรฐาน และไม่มีข้อมูล
ทุจริต ก็จะได้รับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า
ส่วนรางวัลพระปกเกล้าทองคำเป็นรางวัลที่ริเริ่มขึ้นเมื่อพ.ศ. 2549 และ
จัดมอบรางวัลทุก 2 ปี เพื่อให้รางวัลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
10
สถาบันพระปกเกล้า