Page 14 - kpi9942
P. 14
บทนำ
ประกันได้ว่าจะนำมาสู่ผลดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ ดัง
ปรากฎในกรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2550
2. รางวัลพระปกเกล้า “เกีรยติภูมิของท้องถิ่น”
2.1 ที่มาและวัตถุประสงค์
“รางวัลพระปกเกล้า” เป็นที่คุ้นหูกันในแวดวงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าเป็นรางวัลที่
สถาบันพระปกเกล้ามอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จริงๆแล้วรางวัลพระปกเกล้ามีชื่ออย่าง
เป็นทางการว่า “รางวัลพระปกเกล้าสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความ
โปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน” ก่อนนำสู่การถอดรหัสองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลนี้ ขอแนะนำให้ผู้อ่านทราบที่มาที่ไป รวมทั้งกรอบความคิดและแนวทางการ
ประเมินรางวัลพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า ได้ริเริ่มการมอบรางวัลพระปกเกล้าแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
ความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสในการบริหารงานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2544 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1) เพื่อเป็นการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในการปกครอง
ท้องถิ่น และ 2) เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านการมี
ส่วนร่วมของประชาชนและความโปร่งใส
นอกจากนั้นรางวัลพระปกเกล้ายังมีผลต่อเนื่องที่สำคัญยิ่งสองประการ คือ 1) รางวัล
พระปกเกล้ากลายเป็นแรงบันดาลใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมุ่งมั่นและตั้งใจในการบริหาร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมและโปร่งใส ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้
การได้รับรางวัลพระปกเกล้าเป็นแรงขับเคลื่อนให้บุคลากรและทีมงานในองค์กรมุ่งไปในทิศทาง
เดียวกัน และ 2) รางวัลพระปกเกล้าเกิดผลต่อเนื่องในการศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ หรือที่เรียก
กันโดยทั่วไปว่า “วิธีการทำงานที่ดี หรือ เป็นเลิศ” (Good and Best Practices) องค์ความรู้
เหล่านี้สามารถช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆเรียนลัด และสามารถพัฒนาการบริหาร
อย่างเป็นแบบฉบับของตนเอง โดยเรียนรู้จากกรณีศึกษาต้นแบบ
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50