Page 55 - kpi8470
P. 55
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
งานได้สำเร็จแล้วนั้น มีโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการน้อยมาก ถึงแม้รูปแบบ
ดังกล่าวจะมีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาลก็ตามที แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายลูก
มารองรับจึงไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2549 กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น จึงได้เริ่มดำเนินการศึกษาถึงแนวทางและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานด้านความ
ร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมี
รูปแบบ แนวทาง และวิธีการในดำเนินงานร่วมกันอย่างไร ดังนั้น กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นจึงได้ร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA: ไจก้า) ดำเนิน
การ “โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้มาตรฐาน
ความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น” ภายใต้การสนับสนุนทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อศึกษารูปแบบการจัดบริการสาธารณะร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน
1, 2 และ 3 โครงการ ดังนี้
- โครงการความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัย โดยความ
ร่วมมือของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี, อบต.ปากแพรก อบต.เกาะสำโรง
และอบต.ท่ามะขาม
- โครงการความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารจัดการ
ร่วมกันด้านโครงสร้างพื้นฐาน อ.ปลวกแดง จ.ระยอง
- โครงการความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารจัดการ
ร่วมกันด้านการจัดการขยะ จ.ลำปาง โดยความร่วมมือของเทศบาล
ตำบลเกาะคา อบต.ท่าผา อบต.ศาลา และ อบต.เกาะคา
โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 3 ปี และจากผลการศึกษาการดำเนิน
งานของโครงการนำร่องในระยะแรกของทั้ง 3 โครงการ คณะวิจัยสรุปผลการวิจัยเล่มที่ 1
และจัดพิมพ์เป็น “ร่างคู่มือความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (Draft of
Local Cooperation Manual) ซึ่งได้ทำการเผยแพร่ไปแล้ว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
สถาบันพระปกเกล้า