Page 53 - kpi8470
P. 53
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
7
บัญญัติเกี่ยวกับความร่วมมือ ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้ อาจแบ่งองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ออกเป็นหลายประเภทของระดับความร่วมมือ
ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ซึ่งในแต่ละรูปแบบอาจมีการออกแบบองค์กรและ
รูปแบบการบริหารที่แตกต่างกัน รวมถึงความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สิน
และบุคลากร
(2) ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยใช้อำนาจทางการบริหาร ข้อดีคือการ
จัดตั้งความร่วมมือจะง่ายขึ้นโดยออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัวขึ้น
การออกกฎหมายดังกล่าวต้องกลับมาพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ประการแรก ต้อง
ยกเลิกข้อจำกัด ซึ่งเป็นพื้นฐานกฎหมายเดิม ที่อาจจะไม่เอื้ออำนวยให้กับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น. สามารถร่วมมือกันได้จริง มิใช่ขอบเขตภายใต้เฉพาะประเภท เช่น เทศบาลกับ
เทศบาลเท่านั้น ประการที่สอง รัฐจะต้องมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ
ระหว่างท้องถิ่น โดยการสร้างมาตรการในเชิงบังคับ โดยเฉพาะบริการที่เป็นหลักใหญ่ๆ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องร่วมมือกันจัดบริการให้ได้มาตรฐาน และมาตรการจูงใจเพื่อ
ให้เกิดความร่วมมือได้จริง เช่น เรื่องงบประมาณ เรื่องกองทุนรวม หรือเรื่องการให้มีบุคลากร
ที่เก่งขึ้นมาบริหารได้มากขึ้น และในกฎหมายนั้น อาจต้องมีการออกแบบต่อ ในเรื่องของ
รูปแบบการบริหารงานและรายละเอียดต่างๆ
2. ทางเลือกความร่วมมืออาจเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องถิ่นด้วยกันเอง หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องถิ่นร่วมกับรัฐ และอาจมีทางเลือก
หลายทาง เช่น ท้องถิ่นร่วมมือกันโดยมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง หรือ ท้องถิ่นร่วมมือกันโดย
มีวัตถุประสงค์ในบางเรื่อง ซึ่งจะเป็นทางเลือกเพิ่มเติม รวมทั้งแนวทางในการบริหารงาน อาจ
จะใช้ผู้บริหารมืออาชีพที่จ้างมาตามสัญญาจ้าง
จากผลการศึกษาข้างต้น คณะกรรมการกระจายอำนาจฯ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
สถาบันพระปกเกล้า