Page 52 - kpi8470
P. 52
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
ความร่วมมือเหล่านี้มีได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน คือ ระดับของการทำข้อตกลง
ร่วมกัน (Memorandom of Understanding : MOU) ไปจนถึงระดับวิธีการรองรับใน
รูปแบบของการบริการระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยกันเอง หรือระหว่างองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นกับรัฐ มีสถานะเป็นนิติบุคคลหรือจะเรียกสหการหรือเรียกอย่างอื่นได้ที่
เป็นความร่วมมือ และในความร่วมมือนี้เป็นทางเลือกที่มีเงื่อนไข คือ จะต้องพิจารณาต่อใน
รายละเอียด คือ บริการสาธารณะใดบ้างที่อยู่ในข่ายที่สามารถทำความร่วมมือ รวมทั้งในแง่
ของการที่จะทำให้ความร่วมมือเหล่านี้เกิดได้
1.2 แนวทางระยะสั้น คือ การใช้ความร่วมมือที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ดำเนินการอยู่ เมื่อเป็นนโยบายของคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ ก็อาจใช้ความร่วมมือ
ดังกล่าวกำหนดรูปแบบเพื่อเปิดโอกาสให้ กฎ ระเบียบต่างๆ คล่องตัวขึ้น รวมทั้งคณะกรรมการ
กระจายอำนาจฯ จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการที่จะทำให้เกิดความร่วมมือได้มากขึ้น
โดยระยะแรก กรณีที่ยังไม่มีกฎหมาย ควรส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น มีความร่วมมือ หรือมีข้อตกลงร่วมกัน และควรจะมีกฎหมายบางอย่างรองรับใน
ความร่วมมือ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น และมีข้อเสนอว่า ควรทำการทดลองปฏิบัติใน
แนวทางที่จะทำให้เกิดแนวทางร่วมในบางกิจการ เช่น การดูแลเรื่องขยะรวม เตาเผาขยะรวม
และระบบบำบัดน้ำเสียรวม ซึ่งมีการลงทุนไปแล้ว และพบว่าการบริหารจัดการมีปัญหา หาก
คณะกรรมการกระจายอำนาจฯ เห็นชอบก็อาจจะปรับโครงสร้างใหม่ หรือปรับปรุงอำนาจ
หน้าที่ ระบบการทำงานใหม่เพื่อที่จะรองรับหรือทดลองความร่วมมือ คู่ขนานในเรื่องข้อ
กฎหมาย
1.3 แนวทางระยะยาว ต้องมีการพัฒนากฎหมาย โดยเห็นสมควรมอบหมายให้
คณะอนุกรรมการด้านการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายปกครองท้องถิ่นและกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นศึกษาความเป็นไปได้ต่อไป โดยอาจมีเงื่อนไข
หลัก 2 ทางเลือก คือ
(1) ออกเป็นพระราชบัญญัติ มีลักษณะคล้ายพระราชบัญญัติองค์การ
มหาชน โดยอาจจะไม่ได้มองเรื่องสหการอย่างเดียว แต่เป็นพระราช-
สถาบันพระปกเกล้า