Page 52 - kpi23788
P. 52
Conflict Mapping Thailand phase 5
42
7) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ พิจารณามาตรการที่
เกี่ยวข้องกับการน าเข้าสินค้าทางเกษตร ที่มีผลต่อการเกิดมลพิษทางอากาศ PM2.5
8) ให้กระทรวงพลังงานพิจารณาเพิ่มการรับซื้อชีวมวล เพื่อผลิตพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้าชุมชน
9) ให้กระทรวงการคลังมีมาตรการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจเกษตรกรปลอดการเผา เช่น การลดภาษี
น าเข้าเครื่องจักรในภาคการเกษตร
10) ให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการศึกษา สร้างความเข้มแข็งให้กับเยาวชน
ประชาชน ชุมชนในการจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมในการจัดการปัญหาหมอกควัน ไฟป่า
และฝุ่นละออง
11) ให้กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีห้องปลอดฝุ่น หน่วยบริการตรวจสุขภาพ
คลินิกมลพิษให้กับประชาชน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง
2) พฤติกรรมของประชาชนในการป้องกันฝุ่น PM2.5
สืบเนื่องจากวิกฤติโควิด 19 ท าให้ประชาชนมีพฤติกรรมการใส่หน้ากากอนามัยในชีวิตประจ าวัน ท าให้
ปัจจุบันในช่วงที่เกิดฝุ่น PM2.5 นอกจากประชาชนใส่หน้ากากอนามัยเพื่อเป็นป้องกันเชื้อโรคแล้ว ประชาชนยังใส่
หน้ากากเพื่อเป็นการป้องกันการสูดฝุ่นเป็นการเบื้องต้นด้วย นอกจากนี้จะเห็นว่าช่วงที่เกิดฝุ่นประชาชนมีกิจกรรม
ในชีวิตประจ าวันที่เปลี่ยนไป (ปวีณา แก้วเขียว, 2564) เช่น การปิดประตูหน้าต่าง ไม่เผาขยะ/กระดาษ/จุดธูป
ความวิตกกังวลต่อสภาพอาการท าให้ก่อนออกจากบ้านต้องการตรวจเช็คสภาพอากาศก่อน การลดระยะเวลาออก
นอกอาคาร การงดการออกก าลังกายกลางแจ้ง การงดการท่องเที่ยว เป็นต้น
4.1.3 พื้นที่ที่ได้ผลกระทบฝุ่นควัน PM2.5 ในประเทศไทย
ในการวัดปริมาณค่าฝุ่น PM2.5 จะเป็นการวัดค่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในแต่ละวัน เพราะแต่ละวัน
ปริมาณฝุ่นจะไม่เท่ากันตามแต่ปัจจัยที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ เช่น สภาพอากาศในวันนั้นว่ามีความกดอากาศ
ขนาดไหน ฝนตกหรือไม่ ปริมาณการเผากลางแจ้งมากขึ้นหรือน้อยลง ปริมาณควันจากโรงงาน เป็นต้น ในการเฉลี่ย
ค่าปริมาณฝุ่นควัน PM2.5 ในแต่ละวันแต่ละพื้นที่จึงไม่เท่ากัน โดยเฉพาะหากเฉลี่ยในรายสัปดาห์ รายเดือน หรือ
รายปี ก็ยิงท าให้ตัวเลขค่าฝุ่นน้อยลงไปอีก
แต่จากพฤติกรรมการเกิดฝุ่นฯ ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงรอยต่อหน้าหนาวจนถึงหน้าร้อนประกอบกับช่วงนั้น
จะเกิดมีพฤติกรรมการเผาในที่แจ้งทั้งจากในประเทศไทยเองหรือต่างประเทศ จึงท าให้ช่วงระยะเวลาดังกล่าวเกิด
ปัญหาฝุ่นฯ ชัดเจนมาก โดยพื้นที่ได้รับผลกระทบที่มักจะจึงมักจะเป็นพื้นที่เดิม ๆ หรือพื้นที่ลักษณะดังกล่าวนี้
1. พื้นที่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพและปริมณฑล เชียงใหม่ เชียงราย
2. พื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น เช่น สมุทรสาคร สมุทรปราการ ชลบุรี
3. พื้นที่ที่มีการเผากลางแจ้งเยอะ เช่น จังหวัดทางภาคเหนือ กาญนบุรี สุพรรณบุรี
4. พื้นที่ที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า ลาว กัมพูชา) ที่มีการเผากลางแจ้งมาก เช่น
จังหวัดทางภาคเหนือ จังหวัดทางภาคอีสาน
5. พื้นที่จังหวัดภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาควันไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซีย
-42-