Page 54 - kpi23788
P. 54
Conflict Mapping Thailand phase 5
44
การบรรเทาการย้ายถิ่นสาหรับผู้ประสบภัย นอกจากนี้ ข้อตกลง ATHP ยังได้จัดตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
(Panel of Experts: POE) เพื่อให้ เกิดการดาเนินการประเมินเป็นไปอย่างอิสระอย่างรวดเร็ว ต่อการให้
ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ภายใต้ 5 แนวทาง ประกอบด้วย
(1) ด าเนินการตามมาตรการทางกฎหมาย และการบริหารเพื่อป้องกันและ ควบคุมกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับไฟบริเวณพื้นดินและบริเวณพื้นที่ป่าซึ่งอาจส่งผลให้เกิดมลพิษจาก หมอกควันข้ามพรมแดน
(2) การด าเนินการระดับชาติ
(3) ขยายผลสู่ความร่วมมือระดับภูมิภาคและ ระหว่างประเทศเพื่อป้องกัน
(4) การประเมิน
(5) การติดตามมลพิษหมอกควันข้ามพรมแดนที่เกิดจากไฟ บริเวณพื้นดินและบริเวณพื้นที่ป่า
ในการขับเคลื่อน ATHP สมาชิกได้ก าหนดโครงสร้าง การท างาน เพื่อท าหน้าที่ก ากับการดูแล ภายใต้
กระบวนการ 3 แนวทาง คือ
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 5 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง เรื่องมลพิษ หมอก ควัน
ข้ามแดน ( The Sub- Regional Ministerial Steering Committee on Transboundary Haze Pollution in
the Mekong Sub-Region: MSC & TWG Mekong) ภายใต้การประชุมคณะทางานภายใต้รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 5
ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง ประกอบด้วย เมียนมา สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย
2. การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 5 ประเทศ เรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน และ การประชุมคณะ
ทางานภายใต้รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 5 ประเทศ (The Sub-Regional Ministerial Steering Committee on
Transboundary Haze Pollution: MSC & TWG Southern) ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
และไทย
3. การประชุมประเทศภาคีต่อข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน 10 ประเทศสมาชิก
อาเซียน (The Conference of the Parties: COP) เป็นการประชุมระดับ รัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแนวทางใน
การแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดน จากปัญหา การเผาในที่โล่งของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยเป็น
พื้นที่สนับสนุนการทางาน จากคณะกรรมการ (The Committee: COM) ประกอบด้วย คณะกรรมการระดับ
เจ้าหน้าที่อาวุโส (อธิบดี ปลัดกระทรวง) จาก 10 ประเทศสมาชิก ท าหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
มลพิษด้านหมอกควันข้าม พรมแดนจากเวทีลุ่มแม่น้าโขงตอนบน (TWG Mekong) และอาเซียนตอนล่าง (TWG
Southern) เสนอต่อที่ประชุมสมาชิก (COP) เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศภาคีด าเนินตามของตกลง ATHP
(นพชัย ฟองอิสสระ, 2564 )
ส าหรับประเทศไทย ปัญหาควันไฟข้ามประเทศ จะได้รับจากประเทศในอาเชี่ยนในสองทาง คือ
1. ปัญหาของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีควันไฟข้ามประเทศที่มาจากกลุ่มประเทศ
CLMV อันได้แก่ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา (Cambodia) สปป.ลาว (Lao PDR) เมียนมา (Myanmar) และ
เวียดนาม (Vietnam)
2. ปัญหาของภาคใต้ โดยมีควันไฟข้ามประเทศที่มาจากประเทศอินโดนีเซีย
-44-