Page 53 - kpi23788
P. 53

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              43



                             ด้วยลักษณะพื้นที่ที่กล่าวมานี้ หากพื้นที่ไหนมีเหตุปัจจัยที่ท าให้เกิดฝุ่นฯ หลายข้อ นั่นก็หมายความว่า
                   ค่าตัวเลขปริมาณฝุ่นฯ ก็จะสูงตามไปด้วย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ของจังหวัดมีการเผาในที่แจ้งมาก ในเขตเมือง

                   ก็มีความหนาแน่นมาก อีกทั้งได้ได้ควันไฟมาจากการเผาในเขตพม่าอีกจึงท าให้จังหวัดเชียงใหม่มีค่าฝุ่นฯ มากเป็น
                   อันดังต้นๆ ของไทยแทบทุกปี



                                ภาพแสดงปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนของทุกปี



























                   ที่มา : (ร่าง) เอกสารประกอบการพิจารณาการปรับปรุงมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป.  (2564).
                   สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/01/pcdnew-2021-01-28_08-42-24_325315.pdf


                             4.1.4 อาเซียนกับการการแก้ปัญหาการเผาในที่แจ้งและควันไฟข้ามแดน

                                 ส่วนหนึ่งของปัญหาฝุ่นฯ ที่เกิดในประเทศไทย เป็นผลจากควันไฟที่ลอยมาจากการเผาของประเทศ

                   เพื่อนบ้าน ในปัจจุบันประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน
                   ASEAN AGREEMENT ON TRANSBOUNDARY HAZE POLLUTION  (ATHP) โดยมีวัตถุประสงค์ สนับสนุนให้
                   เป็นข้อตกลงที่มีผลผูกมัดทางกฎหมายต่อประเทศสมาชิก เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนที่เกิดขึ้นจากไฟ
                   ป่าบริเวณที่ดิน และบริเวณป่า ซึ่งได้กลายเป็นข้อตกลง สิ่งแวดล้อมที่มีผลผูกพันทางกฎหมายฉบับแรกของอาเซียน
                   ข้อตกลง ATHP ได้ก าหนดมาตรการติดตาม การประเมิน และการป้องกัน ความร่วมมือทาง วิชาการ และการวิจัย

                   ทางวิทยาศาสตร์ กลไกการประสานงาน สายงานของการสื่อสาร และขั้นตอน ทางศุลกากรที่ง่ายขึ้น และ

                                                                -43-
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58