Page 48 - kpi23788
P. 48
Conflict Mapping Thailand phase 5
38
ความเข้มข้นขึ้น จากเดิมต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ถูกปรับลงมา จะต้องไม่เกิน
37.5 มคก./ลบ.ม. ส าหรับค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จาก 25 มคก./ลบ.ม. ถูกปรับลงมา จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม.
4.1.1 สาเหตุการเกิดทั้งในและนอกประเทศ
ปัญหาฝุ่น PM2.5 จะเกิดได้ต้องมีลักษณะสาเหตุ 2 ประการมาประกอบกัน คือ สาเหตุของการท าให้
เกิดฝุ่นPM2.5 กับ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เอื้ออ านวยให้เกิดปรากฏการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 กล่าวคือ
1. สาเหตุของการท าให้เกิดฝุ่นPM2.5
สาเหตุของการท าให้เกิดฝุ่น PM2.5 โดยส่วนมากเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ในกรณีที่เกิดจาก
ธรรมชาติในปัจจุบันจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้แต่มีเปอร์เซ็นต์สัดส่วนที่น้อย คือ ไฟป่า ดังนั้นสาเหตุปัจจุบันจึงเกิดจาก
การกิจจกรรมในชีวิติประจ าวันของมนุษย์เป็นหลัก ได้แก่
• การเผาป่า หรือเผาพืชการเกษตร
• การเผาในที่โล่งทุกชนิด เช่น เผาเศษวัสดุทางการเกษตร เผาขยะ
• ควันไอเสียจากรถการจราจร
• การเผาไหม้เชื้อเพลิงอุตสาหกรรม
• อุตสาหกรรมโรงปูน ถ่านหิน ระเบิดหิน
• การก่อสร้าง
• กิจกรรมในบ้านเรือน/ชุมชน เช่น จุดเตาถ่าน ปิ้งหรือย่างอาหาร จุดธูป
2. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เอื้ออ านวย
ปัญหาฝุ่น PM2.5 จะเกิดได้นอกจากมีฝุ่น PM2.5 ลอยอยู่ในอากาสแล้ว สภาพทางอุตุนิยมวิทยา ในขณะ
นั้นต้องเอื้ออ านวยให้เกิดปรากฏการณ์นี้ด้วย คือ เมื่ออากาศเย็นและแห้ง มีความกดอากาศสูงท าให้ฝุ่น PM2.5
ไม่สามารถลอยขึ้นไปชั้นบรรยากาศข้างบนได้ และเมื่อสภาพอากาศนิ่ง ท าให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่แพร่กระจาย
ฝุ่นละอองก็จะแขวนลอยอยู่ในระดับล่างได้นาน โดยเฉพาะปรากฏการนี้จะเกิดบ่อยครั้งในช่วงฤดูหนาว
ฝุ่น PM2.5 แม้จะมีการแก้ปัญหาในพื้นที่แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่า หากพื้นที่อื่นยังไม่มีการแก้ไขไป
พร้อมกันด้วย ก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ให้หมดไปได้ เพราะฝุ่นเมื่อเกิดแล้วก็จะลอยกระจายไปตามทิศทางลม ดังเช่น
ปัจจุบัน พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน นอกจากจะมี
ปัญหาเรื่องการเผาในจังหวัดตัวเองแล้ว ก็ยังมีปัญหาควันไฟที่ลอยมาจากประทศเพื่อนบ้าน หรือแม้กระทั่งภาคใต้
ของประเทศไทย ที่ทุกปีจะมีควันไฟป่าจากเกาะสุมาตรา เกาะบอเนียว ลอยมาและสร้างปัญหาด้านสุขภาพแก่คน
ในพื้นที่ทุกปี
-38-