Page 47 - kpi23788
P. 47
Conflict Mapping Thailand phase 5
37
ปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง พัฒนาระบบเตือนภัย และระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจ รวมถึง
การพัฒนาและใช้งานแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นต้น
สาระส าคัญของแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง สรุปดังนี้
1. การสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง ภายใต้ คณะกรรมการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
3. การบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า
4. สร้างเครือข่ายอาสาสมัคร และจิตอาสา เป็นกลไกหลักเข้าถึงพื้นที่ สื่อสาร ติดตาม เฝ้าระวัง และดับไฟ
5. เร่งขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ภายใต้ศูนย์อ านวยการจิตอาสาพระราชทาน
6. เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. การพยากรณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า 3 วัน เพื่อแจ้งเตือนประชาชน
8. ประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการรายงานปริมาณฝุ่นละอองเชิงพื้นที่
9. พัฒนาระบบคาดการณ์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ พัฒนาและใช้งานแอพพลิเคชั่นบัญชาการดับไฟป่า
10. บริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยใช้แอพพลิเคชั่นลงทะเบียนจัดการเชื้อเพลิง
11. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลป่าไม้ และลดการเผาป่า ผ่านการจัดที่ดินท ากิน
12. เจรจาสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยความคืบหน้าล่าสุดประเทศไทยและประเทศเพื่อน
บ้านอื่นอีก 4 ประเทศ คือ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ตกลงจัดตั้ง
ศูนย์ประสานงานกลาง ASEAN Coordinating Centre for Transboundary Haze Pollution Control ณ ประเทศ
อินโดนีเซียเพื่อประสานการด าเนินงานการป้องการและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอาเซียน
โดยอินโดนีเซียได้รายงานแผนการจัดตั้งศูนย์ฯ ดังกล่าวว่าจะให้มีการลงนามกับประเทศสมาชิกในการจัดตั้งศูนย์ฯ
และจะให้มีเริ่มการด าเนินงานของศูนย์ดังกล่าวได้ในช่วงปลายปี 2566
ส าหรับประเทศที่อื่นนอกที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกประเทศไทยยังได้สร้างความร่วมมือผ่านทางประเทศใน
อนุภูมิภาคแม่โขง ซึ่งนายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าภาพการประชุมระดับผู้น าสามฝ่ายระหว่างไทย–สปป.ลาว–เมียนมา
เพื่อหารือแนวทางการจัดการปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนร่วมกันโดยใช้ “ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (CLEAR Sky
Strategy)” ที่เสนอโดยประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนที่เกิดขึ้น และประเทศไทยได้
สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการปัญหาการเผาในที่โล่งให้ประเทศเพื่อนบ้านผ่านการอบรมการจัดการ
หมอกควันข้ามแดนให้เมียนมา และ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2566 และประเทศไทยได้ขอให้สิงคโปร์
แลกเปลี่ยนเรียนรู้การก าหนดระเบียบข้อบังคับ ในการควบคุมการเผาในที่โล่งจากการประกอบกิจการ เพื่อควบคุม
ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประเทศไทยจะได้น าองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลในอนุภูมิภาคแม่โขงต่อไป
((ร่าง) เอกสารประกอบการพิจารณา, 2564)
นอกเหนือจากมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐได้ด าเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 66 เป็นต้น
ไป คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ประกาศเรื่อง ก าหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
ในบรรยากาศทั่วไป ค่ามาตรฐานใหม่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ถูกปรับให้มี
-37-