Page 49 - kpi23788
P. 49
Conflict Mapping Thailand phase 5
39
4.1.2 ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม
4.1.2.1 อันตรายฝุ่น PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลถึงสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) กระจายในภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะใน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล หากประชาชนได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในระยะยาว จะส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพ ท าให้เกิดโรคทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็งปอด เนื่องจากฝุ่นละออง
ขนาดเล็ก PM2.5 จะเข้าไปท าให้เนื้อเยื่อปอดอักเสบ ส่งผลต่อกระบวนการแบ่งตัวผิดปกติภายในเซลล์ ส่งผลให้
กลายเป็นเซลล์มะเร็ง หากได้รับในปริมาณมากและระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบของสารเคมีบางชนิดที่
ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น โพลิไซคลิกอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หรือสารอินทรีย์ระเหยง่าย
โดยจากข้อมูลการศึกษาภาระโรคขององค์การอนามัย ปี 2562 พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากฝุ่น
ละอองในบรรยากาศ จ านวนรวม 31,081 ราย โดยมีสาเหตุจากโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease)
11,408 ราย โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 7,274 ราย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) 3,043 ราย
และมะเร็งปอด 2,464 ราย นอกจากนี้ รายงานการเจ็บป่วยโรคจากมลพิษทางอากาศของคลังข้อมูลสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข พบว่าการเจ็บป่วยจากมลพิษทางอากาศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึง มะเร็งปอด ซึ่งในปี
2565 พบรายงานผู้ป่วยมะเร็งปอดถึง 189,713 ราย คิดเป็น 291.18 ต่อแสนประชากร (กรมอนามัย, 2566)
ลักษณะอาการอันสืบเนื่องจากการรับฝุ่น PM2.5 เข้ามาสู่ร่างกาย (กรมอนามัย, กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ,
2565).
- ผลกระทบระยะสั้น : ไอ จาม ระเคืองผิวหนัง ระเคืองตา
- ผลกระทบระยะยาว ได้แก่
1. ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด : ท าให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุด
เต้นเฉียบพลัน หัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ ความดันโลหิตสูง
2. ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด หายใจไม่สม่ าเสมอ
3. โรคมะเร็งปอด
4. โรคเบาหวาน
5. โรคในเด็กทารก ได้แก่ เสี่ยงแท้ง/คลอดก่อนก าหนด , กระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ,
กระทบต่อระบบสมองของเด็ก , ทารกแรกเกิดมีอาการผิดปกติ น้ าหนักน้อย
4.2.1.2 ผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ต่อเศรษฐกิจ
เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยเมื่อเกิดวิกฤติฝุ่น PM2.5 ขึ้นผลที่ตามมาก็คือ จะมีผลสืบเนื่อง
ต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจในแต่ละด้านตามมา ได้แก่
1. การใช้จ่ายเพื่อการรักษาโรคอันเกิดจากฝุ่น PM2.5
-39-