Page 50 - kpi23788
P. 50
Conflict Mapping Thailand phase 5
40
2. การใช้จ่ายของประชาชนเพื่อเป็นป้องกันฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ร่างกาย เช่น การซื้อเครื่องฟอก
อากาศ ซื้อหน้ากากอนามัย ซื้อเครื่องตรวจสอบอากาศ เป็นต้น
3. การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐเพื่อจัดการกับฝุ่น PM2.5
4. เงินรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง ทั้งจากนักท่องเที่ยวภายนอกประเทศ และ
ภายในปประเทศ
5. นักลงทุนชะลอการลงทุน
ปัจจุบันมีการวิจัยผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ต่อมูลค่าเศรษฐกิจในประเทศไทยออกมาบ้าง เช่น
ในแง่ของมูลค่าการท่องเที่ยว หรือในแง่สุขภาพ แต่ยังไม่มีการวิจัยในภาพรวมทั้งระบบ ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ว่าเรื่อง
ฝุ่น PM2.5 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่นานนัก และเพิ่งจะมีการตื่นตัวจริง ๆ ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เอง ท าให้การเก็บข้อมูล
อาจจะยังน้อยอยู่ แต่เท่าที่ดูทิศทางงานวิจัยในปัจจุบันก็สามารถสรุปว่ามูลค่าความเสียหายในเชิงเศรษฐกิจมหาศาล
และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังตัวอย่างงานวิจัยเรื่อง ผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ต่อจ านวน
นักท่องเที่ยวต่างชาติใน จังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร (ธีรวัฒน์ น้ าค า และเริงชัย ตันสุชาติ, 2564) การวิจัย
นี้ศึกษา ผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ต่อจ านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในแต่ละช่วง ระยะเวลา
โดยพิจารณาผ่านการเปลี่ยนแปลงจ านวนนักท่องเที่ยว 20 สัญชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุด และใช้จังหวัด
เชียงใหม่และกรุงเทพมหานครเป็นตัวแทนเมืองท่องเที่ยวที่เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ ข้อมูลที่ศึกษาอยู่ ในช่วงปี
2014 ถึง ปี 2018 พบว่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ส่งผลกระทบให้จ านวนนักท่องเที่ยวลดลง และ
ผลกระทบดังกล่าวจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะในเดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม หากดัชนีค่าฝุ่น
ละออง ขนาดเล็ก PM 2.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากค่าเฉลี่ยรายเดือน จะท าให้จ านวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่
และกรุงเทพมหานครลดลง จ านวน 106,060 คน และจ านวน 659,368 คน และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เสียโอกาส
จากนักท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 476.27 ล้านบาท และกรุงเทพมหานคร 4,105.13 ล้านบาท เป็นต้น
4.2.1.3 ผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ต่อสังคม
ในหลายปีที่ผ่านมาเมื่อเกิดปรากฏการณ์ฝุ่น PM2.5 ภาครัฐมักจะออกนโยบายเพื่อบรรเทา
ความรุนแรง และมาตรการให้ประชาชนหลีกเลี่ยง หรือป้องกันตัวเองจากการรับฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ร่างกาย โดยมีทั้ง
มาตรการระยะสั้น ส าหรับการป้องกันในสถานการณ์ประจ าวันช่วงเกิดฝุ่น และมาตรการระยะยาว เพื่อเป็น
การแก้ไข ป้องกันไม่ให้มีฝุ่น PM2.5 เกิดขึ้นอีกในอนาคต นอกจากในส่วนราชการที่ออกมามีบทบาทแล้ว ในส่วน
ประชาชนเองมีมีพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือได้กับสถานการณ์นี้ ดังนี้
1) มาตรการขับเคลื่อนของรัฐต่อปัญหาฝุ่น PM2.5
การประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 15
มีนาคม 2566 เรื่อง“การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” โดยคณะกรรมการได้มีมติ “ยกระดับมาตรการในการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต” ในพื้นที่ 17 จังหวัด และแผนการด าเนินงาน/
มาตรการระยะยาวส าหรับปี 2567 – 2570 โดยมีสาระ ดังนี้ (กรมควบคุมมลพิษ, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร, 2566)
-40-