Page 46 - kpi23788
P. 46
Conflict Mapping Thailand phase 5
36
บทที่ 4
กรณีศึกษาเรื่อง Conflict ฝุ่น PM 2.5 จาการเผาในที่แจ้งในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
ฝุ่น PM2.5 คือ ฝุ่นละเอียด (Fine Particle) เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีขนาด
เล็กประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผม ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ ลอยในอากาศได้นานและไกลถึง 1,000
กิโลเมตร และอาจมีสารพิษที่เกาะมาด้วย หากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ล่องลอยอยู่ในอากาศปริมาณมาก
จะเห็นท้องฟ้าเป็นสีเทาหม่น หรือดูเป็นเหมือนหมอกควันลอยปกคลุมท้องฟ้า (กรมอนามัย, กองประเมินผลกระทบ
ต่อสุขภาพ, 2563)
การศึกษาเรื่องฝุ่น PM2.5 ในการวิจัยครั้งนี้ ได้หยิบยกกรณีศึกษาเรื่อง Conflict ฝุ่น PM 2.5 ในจังหวัด
เชียงใหม่และเชียงราย โดยก าหนดกรอบสาเหตุของปัญหา PM2.5 ที่มาจากการเผาต้นไม้/พืชการเกษตรในเขตป่า
และเขตที่ท ากิน เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีวิกฤติปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นจังหวัดต้นๆ
ของประเทศไทย และเป็นพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 มากเป็นล าดับแรกๆ ของโลกอีกด้วย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย
ในประเทศไทยภาครัฐเริ่มตระหนักถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ปี 2561 เมื่อกรมควบคุมมลพิษเริ่มน า
ค่า PM2.5 มารวมค านวณในดัชนีคุณภาพอากาศ ต่อมาวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 คณะรัฐมนตรี มีมติให้
“การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง” เป็น วาระแห่งชาติ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบต่อ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2562
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 และมีมติ ในคราวการประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เห็นชอบ
ร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระ แห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” (พ.ศ. 2563) และแผนเฉพาะ
กิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษ ด้านฝุ่นละออง สาระส าคัญของการทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ
“การแก้ไขปัญหามลพิษ ด้านฝุ่นละออง” กล่าวโดยสรุป คือ
มาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ โดยปรับปรุงแนวทางการก าหนดเกณฑ์
ระดับปริมาณ PM2.5 ที่ให้หน่วยงานเพิ่มความเข้มงวดการด าเนินงานที่สามารถให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/จังหวัด/
พื้นที่เสี่ยง สามารถพิจารณาก าหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมของการด าเนินงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบท
ของพื้นที่ได้มีหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถสั่งการได้ทันทีในช่วงเกิดสถานการณ์ โดยเฉพาะใน พื้นที่
วิกฤต เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคเหนือ 17 จังหวัด
มาตรการที่ 2 การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งก าเนิด) เพิ่มเติมมาตรการในการลด และ
ควบคุมมลพิษจากแหล่งก าเนิด ได้แก่ ยานพาหนะ อุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง การก่อสร้างและผังเมือง และ
ภาคครัวเรือน
มาตรการที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ เป็นการพัฒนาระบบ เครื่องมือ กลไก
การบริหารจัดการ การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เพิ่มเติมให้มีการพัฒนาเครือข่ายการติดตามและ ตรวจสอบ
คุณภาพอากาศเสริมเพื่อเป็นการเฝ้าระวังในพื้นที่ พัฒนาแบบจ าลองการพยากรณ์คุณภาพอากาศ ความละเอียดสูง
และพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อประเมินฝุ่นละอองเชิงพื้นที่ จัดท าฐานข้อมูลสนับสนุนการ ป้องกันและแก้ไข
-36-