Page 57 - kpi23788
P. 57
Conflict Mapping Thailand phase 5
47
4.2 กรณีศึกษา Conflict ฝุ่น PM 2.5 จากการเผาในที่แจ้ง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นเขตภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ า
ล าธารที่ส าคัญของประเทศ ดังนั้น จังหวัดเชียงใหม่จึงมีเนื้อที่ป่าไม้มากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยเฉพาะ
จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือตอนบนจึงท าให้เขตตัวเมืองเชียงใหม่เป็นเขตที่มีความ
หนาแน่นของประชากรค่อนข้างมาก ทั้งเป็นแหล่งค้าขาย โรงแรม ธุรกิจต่าง ๆ ขนส่ง สถานศึกษา มหาวิทยาลัย
และที่ส าคัญจังหวัดเชียงใหม่มีอาณาเขตของติดต่อกับประเทศพม่ากว้างมาก ท าให้เมื่อถึงช่วงธันวาคม
ถึงพฤษภาคม จังหวัดเชียงใหม่จะประสบกับปัญหากลุ่มควันไฟ จากการเผาในพื้นที่ในจังหวัดเอง และจากที่ลอย
ข้ามมาจากประเทศพม่า ซึ่งจะกลายเป็นปัญหา ฝุ่น PM2.5 ในเชียงใหม่ทุกปี
ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษาการเผาในที่แจ้ง ซึ่งเป็นต้นเหตุการณ์เกิดควันไฟ ว่าพฤติกรรมหรือวงจรการเผา
เกิดจากสาเหตุใด อย่างเป็นที่รับรู้กันว่าการเผานั้นน ามาซึ่งความเสียหาย ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนทุกหน่วยงานต่าง
พยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้มาหลายปี แต่ปัญหาก็ยังเกิดขึ้นเหมือนเดิม แม้จะมีแนวโน้มที่น้อยลงแต่ความเสียหายที่
เกิดขึ้นก็ยังอยู่ในระดับที่กระทบต่อสังคมโดยมากอยู่ ดั้งนั้น การศึกษาเกี่ยวกับ Conflict ฝุ่น PM 2.5 จากการเผา
ในที่แจ้ง กรณีจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย จะเป็นสิ่งที่ท าให้สามารถมองเห็นถึงทิศทางอันน าไปสู่การแก้ปัญหาที่
ถูกต้องได้
ในการศึกษาผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลาง โดยมีทั้งการประชุม
สัมมา สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐ สัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ และน าข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่าเผา
ในจังหวัดเชียงใหม่และ และจังหวัดเชียงราย มีสาเหตุที่คล้ายกัน ซึ่งขอสรุปข้อมูล ดังนี้
4.2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลการเผาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย
ในการศึกษาข้อมูลพื้นที่การเผา ได้ก าหนดข้อมูลการเผาแต่ละจังหวัดย้อนหลัง 3 ปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563
– 2565 โดยอ้างอิงข้อมูลรายงานของ ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
หรือ สทอภ. (2563; 2564; 2565) โดย สทอภ. ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม 2 ดวง เพื่อท าการวิเคราะห์ข้อมูล 2 เรื่อง
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเผาของทุกปี มาเป็นข้อมูลการรายงาน ดังนี้
1) การส ารวจจากดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS รายวัน เพื่อดูจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของ
จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย พบว่าจุดความร้อนลดลงทุกปีในทุกพื้นที่ ดูตาราง 4.1 และตาราง 4.2
-47-