Page 46 - 22813_Fulltext
P. 46

40



                        ปัจจัยที่น าไปสู่ความส าเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง ประกอบด้วย 1) คนกลาง 2) คู่กรณี
               3) ความสัมพันธ์และความไว้วางใจ 4) บริบทสภาพแวดล้อมและ 5) ทรัพยากรที่เพียงพอ นักจัดการความขัดแย้ง
               ควรเข้าใจถึงภาพรวมที่จะท าให้ความขัดแย้งลุล่วงไปได้ด้วยการไกล่เกลี่ย และน าไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ที่

               เกิดขึ้น ปัจจัยที่ท าให้การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางประสบความส าเร็จตามที่ได้รวบรวมมานี้ เป็นเพียงความรู้บางส่วน
               ยังคงมีปัจจัยต่าง ๆ อีกเป็นจ านวนมากที่ผู้เขียนเห็นว่ายังสามารถค้นหาต่อไปเพื่อความสมบูรณ์ขององค์ความรู้ใน
               เรื่องนี้ที่มากยิ่งขึ้นต่อไป

                       ขั้นตอน และวิธีการด าเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท


                       ขั้นตอน และวิธีการด าเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งสรุปได้ 5 ขั้นตอน (ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์,
               2562)


               1.  การเตรียมตัวก่อนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้ไกล่เกลี่ยควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อน
               โดยอาจจะดูจากเอกสารที่มี หรือสอบถามคู่พิพาทโดยใช้ค าถามปลายเปิด

               2.  การเปิดประชุมไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (นัดแรก)

                       (2.1)  แนะน าตัว ผู้ไกล่เกลี่ยกล่าวเปิดโดยแนะน าตัวเองให้คู่พิพาททราบและให้แต่ละฝ่ายแนะน าตัวเพื่อ
               สร้างบรรยากาศในการเจรจา
                       (2.2)  อธิบายให้คู่พิพาททราบถึงข้อดีและประโยชน์ของการไกล่เกลี่ย

                       (2.3)  ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องแจ้งให้คู่พิพาททราบถึงความเป็นกลางของผู้ไกล่เกลี่ยว่าเป็นคนกลางที่เป็นอิสระ
                       (2.4)  แจ้งให้คู่พิพาททราบว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นความลับ อนุญาตให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ ผู้ร้อง
               และผู้ถูกร้อง ผู้แทนหรือผู้รับมอบอ านาจ หรือบุคคลที่คู่พิพาทยินยอมให้เข้าร่วมเท่านั้น
                       (2.5)  ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องตรวจสอบผู้เข้าร่วมประชุมว่า ได้รับมอบอ านาจมาถูกต้องและมีอ านาจตัดสินใจ
               หรือไม่

                       (2.6)  ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องก าหนดกฎเกณฑ์ในกระบวนการไกล่เกลี่ย
                       (2.7)  ควรแจ้งให้คู่พิพาททราบว่าอาจจะมีการประชุมฝ่ายเดียวแต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากฝ่ายหนึ่งจะ
               ไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งล่วงรู้

                       (2.8)  ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องอธิบายให้คู่พิพาทเห็นและตระหนักว่าการไกล่เกลี่ยเป็นวิธีการค้นหาทางออกด้วย
               การแก้ไขปัญหาร่วมกัน

               3. การค้นหาประเด็นข้อพิพาทและความต้องการที่แท้จริงของคู่พิพาท

                        (3.1)  ผู้ไกล่เกลี่ยต้องให้คู่พิพาทเสนอเรื่องราวและสิ่งที่ต้องการโดยย่อ
                        (3.2)  ในขั้นตอนของการไกล่เกลี่ย ผู้ไกลเกลี่ยจะต้องกระตุ้นให้ทุกฝ่ายได้พูดและเสนอเรื่องราว และสิ่งที่
               ต้องการให้มากที่สุด
                        (3.3)  ผู้ไกล่เกลี่ยต้องเป็นผู้รับฟังรวบรวมข้อเท็จจริง และเป็นนักฟังและจับประเด็นที่ดี
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51