Page 45 - 22813_Fulltext
P. 45
39
16. ด้านมาตรการในการลงโทษผู้กระท าผิดตามกฎ ระเบียบของมหาวิทยาลัย มีมาตรการลงโทษ เช่น
ตัดคะแนน ท าทัณฑ์บน พักการเรียน ไล่ออก ใครท าผิดกฎหมายจะส่งตัวให้ต ารวจด าเนินคดี
2.การเจรจาและการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
การเจรจาและการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางเป็นเครื่องมือที่ส าคัญในการจัดการกับความขัดแย้งและความ
รุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการการพูดคุยกันอย่างเป็นระบบมีขั้นตอน มีศิลปะในการพูดคุยกันภายใต้บรรยากาศ
ที่เอื้ออ านวยให้เกิด มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การใช้วิธีการแบบใดขึ้นอยู่กับการประเมินของคู่กรณี การเจรจามี
ความแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางอย่างชัดเจน กล่าวคือการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นการที่คู่กรณีพูดคุยเพื่อหา
ข้อตกลงหรือยุติปัญหาด้วยกันเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม ในขณะที่การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางเป็นกระบวนการ
ที่บุคคลที่สามเข้ามาช่วยก ากับกระบวนการและกระตุ้นให้คู่กรณีตัดสินใจหาข้อตกลงร่วมกัน การศึกษาการเจรจา
ไกล่เกลี่ยมีความแตกต่างกันไป มีทั้งเน้นมิติอ านาจ บุคลิกภาพของคน และยุทธวิธีที่ใช้ในการเจรจา ซึ่ง
ประกอบด้วยการเจรจาแบบมุ่งผลแพ้ชนะที่มุ่งเน้นเอาแพ้-ชนะ หรือแบบมุ่งเน้นความร่วมมือที่มุ่งจะท าให้ชนะ-
ชนะกันทั้งคู่ แต่การเจรจาแบบเน้นความร่วมมือจะท าให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเกิดสัมพันธภาพอย่างยั่งยืน
ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย 1 ) ก าร พู ด คุ ย กั บ ค น อ ย่ างนุ่ ม น ว ล แ ต่ จั ด ก าร กั บ ปั ญ ห าอ ย่ างจ ริ งจั ง
2) เน้น (ผลประโยชน์) จุดสนใจไม่ใช่จุดยืนว่าใครจะแพ้หรือชนะ 3) สร้างทางเลือกก่อนการตัดสินใจขั้นสุดท้าย
4) ใช้บรรทัดฐานที่วัดได้ 5) หาทางเลือกที่ดีที่สุดหากไม่เจรจาหรือตกลงกันไม่ได้ 6) ข้อเสนอส าหรับข้อตกลง
บทบาทหน้าที่ของคนกลางควรเน้นที่ความสมัครใจในการเข้าสู่กระบวนการ เมื่อเริ่มต้นกระบวนการก็
ควรให้คู่กรณีตัดสินด้วยตนเอง ช่วยให้คู่ไกล่เกลี่ยหาทางออกที่ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย อีกทั้งคนกลาง
ควรท าหน้าที่อย่างเป็นกลางและรักษาความลับ ไม่น าความลับไปเปิดเผยให้อีกฝ่ายรู้ถ้าไม่ได้รับการยินยอมจาก
คู่กรณี ส าหรับจรรยาบรรณ เป็นประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพก าหนดขึ้นเพื่อรักษา และ
ส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงรวมถึงฐานะของสมาชิก ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งมีความสอดคล้องกับ
บทบาทหน้าที่ของคนกลางดังที่ได้กล่าวมา
ส าหรับยุทธิวิธีที่ใช้มี 3 วิธีคือ 1) แบบอ านวยความสะดวก เป็น “คุณอ านวย” เช่น จัดห้อง จัดสถานที่
ให้มีบรรยากาศที่ดี เกิดความรู้สึกอยากพูดคุยกัน โดยคนกลางจะไม่ชี้ขาดหรือเข้าไปตัดสินในเนื้อหาที่ขัดแย้งกันอยู่
อีกวิธีคือวิธี 2) แบบผู้ประเมิน “คุณอ านาจ” คนกลางจะมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาและอาจชี้บอกว่าใครได้เปรียบ
เสียเปรียบ และ 3) การไกล่เกลี่ยแบบแปลงเปลี่ยน เน้นที่คุณค่าของการเสริมพลังให้กับคู่กรณี การตระหนักถึงการ
ด ารงอยู่ ความต้องการ ความจ าเป็น มุมมองของอีกฝ่าย เน้นไปที่การแปลงเปลี่ยนสัมพันธภาพ ให้เกิดสัมพันธ์อันดี
ต่อกันของคู่กรณี การจะเลือกใช้วิธีการใดในการไกล่เกลี่ย ขึ้นอยู่กับ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี 2)
บริบทของความขัดแย้ง 3) ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา 4) ความเข้มข้นของความขัดแย้งว่ามากหรือน้อย 5) ประเภท
ความขัดแย้งเป็นประเด็นคุณค่า อุดมการณ์ ซึ่งไกล่เกลี่ยได้ยากกว่าขัดแย้งในเรื่องข้อมูลที่แตกต่าง 6) ต าแหน่ง
และอัตลักษณ์ของผู้ไกล่เกลี่ย เป็นผู้ไกล่เกลี่ยที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐ หรือองค์การพัฒนาเอกชน มีชื่อเสียงหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางก็อาจจะผสมผสานทั้ง 3 แนวทางนี้ได้