Page 64 - 22376_fulltext
P. 64
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
รายชื่อประชาชนเสนอ ร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร ลักษณะ
ของสภาพลเมืองเชียงใหม่มหานคร เป็นขบวนการขับเคลื่อนที่อาศัย
ความร่วมมือจากกลุ่มคนหลากหลาย ทั้งนักวิชาการ ประชาสังคม นักธุรกิจ
และองค์กรชุมชน ที่มองเห็นปัญหาร่วมกันของการนำนโยบายจาก
ส่วนกลางมาบังคับใช้กับจังหวัดเชียงใหม่ และจัดให้มีกิจกรรมเพื่อ
ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย โดยเสนอร่างพระราชบัญญัติที่เกิดจาก
ความเห็นพ้องต้องกันดังกล่าว เพื่อผลักดันให้เชียงใหม่ยกเลิกการบริหาร
ราชการส่วนภูมิภาค โดยคงส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นไว้ ให้มีการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ สภาเชียงใหม่ และสภาพลเมือง มีการจัดเก็บ
ภาษีเอง และส่งให้รัฐบาลกลางร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือใช้บริหารจังหวัด
ในด้านต่างๆ โดยยกเว้นด้านการทหาร การศาล ระบบเงินตรา และ
การต่างประเทศ เป็นต้น การทำงานร่วมกันของกลุ่มต่าง ๆ ในสภาพลเมือง
เชียงใหม่มหานคร ใช้หลักฉันทมติ (consensus) จากการประชุมไปเป็น
ทางออกในการแก้ไขปัญหา ซึ่งที่สำคัญคือเป็นการเปิดห้องเรียน
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
ได้อย่างดี เช่น ประเด็นปัญหาคลองแม่ข่าที่เป็นประเด็นปรึกษาหารือ
ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา และให้ชาวบ้านหรือประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้
หรือร่วมพิจารณาด้วย บนหลักการที่ว่า “ไม่มีใครรู้ปัญหาท้องถิ่นดีกว่า
คนท้องถิ่น”
ในปี 2562 ภาคประชาสังคมจังหวัดเชียงใหม่ได้ก่อตั้ง สภาพลเมือง
ขึ้นอีกสภาหนึ่ง มีชื่อเฉพาะว่า สภาลมหายใจเชียงใหม่ ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ
(2564) กล่าวถึงความเป็นมาและลักษณะของสภาดังกล่าวว่า เป็นการ
รวมตัวกันของประชาคมชาวเชียงใหม่ที่มีเป้าหมายร่วมกัน ใช้ระบบ
อาสาสมัครผลักดันงานตามความถนัดและความสนใจ มีการประสานงาน
0 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า