Page 67 - 22376_fulltext
P. 67
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
วาระด้วยการนำเสนอประเด็นปัญหาและความจำเป็นในการดำเนิน
โครงการปรับปรุงพัฒนา มีการนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นโดย
นักวิชาการหรือคณะทำงานที่รับผิดชอบ และตามด้วยการเปิดเวทีให้มี
การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจนถึงการหาข้อสรุปร่วมกันของ
ที่ประชุม มติจากการประชุมสภาเมือง จะนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเทศบาล
และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวนโยบายที่เหมาะสมต่อไป
สรุปได้ว่า รูปแบบสภาเมือง ( Town Hall meeting) มีรูปแบบ
เป็นพื้นที่ของการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มีโครงสร้าง ลักษณะ
เป็นทางการ และร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น ที่รับฟังปัญหาของ
ประชาชนอย่างชัดเจน ให้ประชาชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ประเด็นต่าง ๆ ของเมือง (ธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์, 2559) เป็นรูปธรรม
ที่ชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการพัฒนาเมือง The Future of
Khon Kaen : Active Citizen และเป็นเวทีในการกำหนดทิศทาง
การพัฒนาเมืองในระยะยาว
รูปแบบของสภาเมือง (Town Hall meeting) จึงมีความแตกต่าง
จากสภาพลเมือง (Citizen counsil) ที่สภาพลเมืองเป็นการรวมกลุ่มของ
พลเมืองเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนและส่วนรวม
ที่อาจลงมือกระทำการเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ไปจนถึงการมี
ส่วนร่วมพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจหน้าที่
ทั้งนี้การมีส่วนร่วมในกระบวนการของสภาพลเมืองในการศึกษาโครงการ
ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดนี้ มีสมาชิกองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมกับสภาพลเมืองด้วยในบทบาทหน้าที่ของ
พลเมืองมากกว่าในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังจะกล่าวใน
รายละเอียดต่อไป
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า