Page 68 - 22376_fulltext
P. 68
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
สภาพลเมืองร้อยเอ็ด สำหรับสภาพลเมืองภายใต้โครงการ
ปฎิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับพื้นที่ร้อยเอ็ด
การรวมตัวของพลเมืองใช้ชื่อสภาพลเมือง ที่ไม่ได้ติดกับโครงสร้าง
และหน้าที่ แม้จะมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ไว้เป็นแนวทางในการทำงาน
อยู่บ้าง และมีเป้าหมายในการทำงานสอดคล้องกับแนวคิดสภาพลเมือง
ในฐานะพื้นที่ของการมีส่วนร่วมของพลเมือง แสดงให้เห็น ความสัมพันธ์
ระหว่าง สภาพลเมืองกับการเสริมพลังพลเมือง ได้ดังนี้ คือ การเป็นพื้นที่
แลกเปลี่ยนของประสบการณ์ การรับฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์ระหว่างกัน
การเสนอข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา การสร้างเครือข่าย
สภาพลเมืองร้อยเอ็ดจึงมีลักษณะเป็นองค์กรที่ไม่เป็นทางการ
เป็นการรวมตัวกันของพลเมืองที่มีจิตสาธารณะ ต้องการทำประโยชน์
เพื่อส่วนรวม และเป็นพื้นที่สำหรับพลเมืองในการมีส่วนร่วม โดยกำหนด
นิยามความหมายว่า สภาพลเมือง (Citizen Council) คือ กลุ่มพลเมือง
ที่รวมตัวกันทำงานด้วยจิตอาสา เห็นประโยชน์ส่วนร่วมเป็นที่ตั้ง
การรวมตัวในรูปแบบกลุ่มอาสา เชื่อมโยงเครือข่าย สานความร่วมมือ และ
บูรณาการทรัพยากร เช่น องค์ความรู้ บุคลากร และงบประมาณ เพื่อแก้ไข
ปัญหารายประเด็นที่นำไปสู่ประโยชน์ของจังหวัดโดยรวม ซึ่งอาจเสนอเป็น
นโยบายสาธารณะ หรือแนวทางพัฒนา หรือเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันในชุมชน
และเรียนรู้ร่วมกัน
ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์สภาพลเมืองในฐานะหน่วยศึกษาว่าจะเสริมสร้าง
พลังพลเมืองได้อย่างไร จึงนำกรอบคิดจากการทบทวนวรรณกรรม
การเสริมสร้างพลังพลเมืองกับชุมชนเข้มแข็ง มาวิเคราะห์และจัดกลุ่ม
เป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นมิติในการศึกษาได้ดังนี้
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า