Page 63 - 22376_fulltext
P. 63
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
มีความเหมือนกัน คือ โครงสร้างที่แข็งตัว ยึดความเป็นตัวแทนที่มาจาก
กลุ่มหรือองค์กร ต้องผ่านการขึ้นทะเบียน ซึ่งลักษณะองค์กรดังกล่าวจาก
การศึกษาของสวิง และคณะ เห็นว่าไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มที่ไม่ว่า
ด้านการให้คำปรึกษาหรือพัฒนานโยบายสาธารณะ
องค์กรที่มีรูปแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นองค์กรในระดับท้องถิ่น
ตัวอย่าง สถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรยั่งยืนแม่ทา ตำบลแม่ทา
อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ที่คือการรวมกลุ่มเครือข่ายพลเมือง
ในระด้บท้องถิ่น ไม่มีโครงสร้าง ไม่มีการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน ทำหน้าที่
ในการเชื่อมประสาน ระดมความคิดเห็น พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย
ของชุมชน สร้างส่วนร่วมของชุมชนในการตรวจสอบการดำเนินงานของ
หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งงานศึกษาพบว่า
สามารถเชื่อมประสานงาน ร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ กับหน่วยงาน
ในพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ตัวอย่างของสถาบันพัฒนา
ทรัพยากรและเกษตรกรยั่งยืนแม่ทาดังกล่าว สอดคล้องกับองค์กรจัดการ
ตนเองในจังหวัดเชียงใหม่ ที่สวิง ตันอุด (2560) ได้ศึกษาไว้ ว่าเป็น
การรวมตัวของภาคประชาชนในการจัดการตนเองของประชาชนเชียงใหม่
พบเป็นกลุ่มเครือข่ายพลเมืองจิตสาธารณะ ทั้งการทำกิจกรรมและ
การพัฒนานโยบายสาธารณะ ตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐ ในประเด็นที่หลากหลาย หรือประเด็น
เฉพาะพื้นที่ การรวมกลุ่มจะทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องและอาจปรับตาม
สถานการณ์ปัญหา
สภาพลเมืองเชียงใหม่มหานคร (ชำนาญ จันทร์เรือง, 2561)
แนวคิดของพลเมืองเชียงใหม่ที่เห็นพ้องในเจตนารมณ์ให้เชียงใหม่เป็นเมือง
จัดการตนเอง และขับเคลื่อนสู่เชียงใหม่มหานคร โดยมีการรวบรวม
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า