Page 61 - 22376_fulltext
P. 61

เสริมสร้างพลังพลเมือง
                                                               จังหวัดร้อยเอ็ด


                  ในการมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง บทความของธนัย การส่งเสริม

                  สภาพลเมืองหรือสมัชชาพลเมือง ผ่านสภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนา
                  การเมือง หรือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป็นแนวคิดเพียงกว้าง ๆ

                  ที่ต้องคำนึงถึงบทบาทและความซ้ำซ้อน และเสนอให้ภาคประชาสังคม
                  ตั้งคำถามว่าจำเป็นต้องให้รัฐเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมหรือไม่ รวมทั้ง
                  ให้คำนึงถึงหลักการสำคัญของการเป็นพื้นที่สาธารณะของประชาชน

                  ในการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน
                  ประชาชนมีสิทธิในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการตัวเองในระดับพื้นที่

                       ชำนาญ จันทร์เรือง (2561) นำเสนอในบทความ ว่า สภาพลเมือง

                  (Civil Juries หรือ Citizen Juries) เป็นรูปแบบที่ใช้ในสหรัฐมาตั้งแต่
                  ทศวรรษ 70 มีการคัดเลือกลูกขุนมาจำนวนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่พิจารณา

                  กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลามากน้อยแล้วแต่ภารกิจ
                  สภาพลเมืองนี้จะเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ (Interest
                  Groups) โดยคณะลูกขุน (ซึ่งของไทยเราผมใช้คำว่า “สภาพลเมือง”

                  แทนเพื่อมิให้สับสนกับคำว่าลูกขุนในระบบศาล) จะทำหน้าที่ฟัง
                  การอภิปราย หรือการชี้แจงของฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งซักถาม และฟังเหตุผล

                  ของแต่ละฝ่าย เรื่องราวต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่สภาพลเมืองนี้จะเป็นเรื่องราว
                  ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะที่จะต้องร่วมกันตัดสินใจโดยใช้หลักของ
                  การมีฉันทามติร่วมกัน (concencus) แทนการโหวตเพื่อเอาแพ้เอาชนะ


                       ชำนาญ จันทร์เรือง ยังได้เสนอ หลักการและแนวคิดสภาพลเมือง
                  หรือสมัชชาพลเมือง ไว้ว่า มีพื้นฐานมาจากแนวคิดประชาธิปไตยทางตรง
                  ที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และ

                  ความเป็นไปของสังคมการเมืองของตน ซึ่งมีรากฐานมาตั้งแต่สมัย
                  กรีกโบราณ ที่มีการประชุมเมืองเพื่อให้พลเมืองของกรีกเข้ามามีส่วนร่วม



 สถาบันพระปกเกล้า
                                              สถาบันพระปกเกล้า
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66