Page 60 - 22376_fulltext
P. 60
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
ตรงของกรีก ซึ่งเมื่อเกิดประชาธิปไตยแบบตัวแทนในเมืองที่มีพลเมือง
จำนวนมากประชาชนทุกคนไม่สามารถเข้ามีส่วนร่วมทางตรงได้ การเกิดขึ้น
ของสภาพลเมืองจึงเกิดขึ้นเพื่อเกิดขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่
ระดับชุมชน ตำบล ไปจนถึงระดับชาติ ให้พลเมืองทุกคนที่ต้องการจะแสดง
ความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและความเป็นไปของ
พลเมืองด้วยตนเอง
ธนัย เกตวงกต (2557) เสนอไว้ในบทความว่า มีการพยายาม
กำหนดนิยามความหมาย ชื่อ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ที่มา ของสภาพลเมือง
รวมทั้งงบประมาณ ไว้ตามอำนาจของหน่วยงาน ธนัญ เห็นว่า สภาพลเมือง
หรือสมัชชาพลเมือง เป็นชื่อที่กำหนดได้ตามหน่วยงานที่มีอำนาจนั้น
และแสดงถึงความคิดความเข้าใจขององค์การนั้น ๆ ต่อสภาพลเมือง เช่น
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าสมัชชาพลเมืองเป็นพื้นที่กลาง
ของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่จะมาทำงานร่วมกัน และ
เพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุย กำหนดทิศทางการพัฒนา สำหรับราชการ
ส่วนภูมิภาค หรือกระทรวงมหาดไทย สมัชชาพลเมืองหรือสภาพลเมือง
จะเป็นเสมือนองค์กรในกำกับของมหาดไทย และเป็นช่องทางสร้าง
ความชอบธรรมจากความเห็นชอบของประชาชนในการดำเนินนโยบาย
ต่าง ๆ ผ่านช่องทางของสมัชชาพลเมืองหรือสภาพลเมืองดังกล่าว
ซึ่งแนวคิดหรือมุมมองดังกล่าวไม่สอดคล้องกับการเป็นพื้นที่ให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบด้วยตนเอง ขณะเดียวกัน
กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากสภาพลเมืองหรือสมัชชาพลเมืองจะอยู่
ภายใต้การกำกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่ง
ของท้องถิ่น ไม่ได้เป็นพื้นที่สำหรับการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงเช่นเดียวกัน
สำหรับภาคประชาสังคมซึ่งสามารถเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างสำหรับประชาชน
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า