Page 59 - 22376_fulltext
P. 59

เสริมสร้างพลังพลเมือง
                                                               จังหวัดร้อยเอ็ด


                        ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐโอเรก้อน (Oragon) มีรูปแบบ Town

                  Meeting หรือสภาเมือง ที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ออกข้อบัญญัติและ
                  ออกกฎหมาย และให้ประชาชนสามารถเสนอกฎหมาย และการตรา

                  กฎหมายสามารถทำได้ โดยประชาชนลงประชามติของประชาชน

                        ญี่ปุ่น ประเทศที่การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ประชาชน

                  มีบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  จุดแข็งของพลเมืองอยู่ที่การมีสํานึกร่วมต่อสังคม เกิดการรวมกลุ่ม
                  เพื่อทำกิจกรรมทางสังคม ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะแต่มีเครือข่ายมีความร่วมมือ

                  ที่หลากหลายทำให้เกิดความเข้มแข็งของภาคพลเมือง

                       อินโดนีเซีย มีกลไกการมีส่วนร่วมของพลเมืองทุกระดับ

                  เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมโดยไม่เน้นการรวมตัวเป็นองค์กร ที่จะทำให้
                  เกิดโครงสร้างและแข็งตัว ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ แต่มีกองเลขานุการ ซึ่งเป็น
                  หน่วยงานรัฐสนับสนุนงบประมาณ และประสานอำนวยให้ประชาชน

                  มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจในโครงการที่มี
                  ผลกระทบต่อประชาชน


                       ในประเทศไทย รูปแบบการรวมตัวของพลเมืองเพื่อเป้าหมายของ
                  การทำงานเพื่อส่วนรวม ปรากฎในหลายพื้นที่ ได้แก่ สภาขอนแก่น
                  สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาพลเมืองอำนาจเจริญ สภาพลเมืองจังหวัด

                  ราชบุรี

                       ในงานศึกษาของ สวิง ตันอุด (2556) และธนัย (2557)  กล่าวถึง
                  หลักการและแนวคิดสภาพลเมือง ว่ามีพื้นฐานมาจากแนวคิดประชาธิปไตย

                  ทางตรงที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและ
                  ความเป็นไปของสังคมการเมืองของตน ซึ่งพัฒนาจากประชาธิปไตยทาง



 สถาบันพระปกเกล้า
                                              สถาบันพระปกเกล้า
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64